วันพุธที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2557

หน่วยที่ 11 แนวทางการประกอบธุรกิจ
สาระสำคัญ
          ในบทนี้จะกล่าวถึงแนวทางการประกอบธุรกิจทางด้านคอมพิวเตอร์และด้านอื่นๆ เช่น การวางแผนทางการตลาด การขาย แหล่งที่มาของเงินทุน คุณสมบัติของผู้ประกอบธุรกิจ ปัญหาในการดำเนินการต่างๆ เป็นต้น

เรื่องที่จะศึกษา
  • ความหมายของธุรกิจด้านคอมพิวเตอร์
  • แนวทางการตลาด
  • การวางแผนการตลาด
  • แผนการขาย
  • แหล่งที่มาของเงินทุน
  • คุณสมบัติของผู้ประกอบการธุรกิจขนาดย่อม
  • ปัญหาในการดำเนินธุรกิจขนาดย่อม
  • การเลือกประกอบอาชีพอิสระ
  • คุณสมบัติของผู้ประกอบอาชีพอิสระ
  • ปัญหาและข้อแนะนำในการประกอบธุรกิจ

จุดประสงค์การเรียนรู้
  1. บอกความหมายของธุรกิจด้านคอมพิวเตอร์ได้
  2. เขียนแนวคิดทางการตลาดได้
  3. วางแผนการตลาดได้
  4. วางแผนการขายได้
  5. หาแหล่งที่มาของเงินทุนได้
  6. เขียนคุณสมบัติของผู้ประกอบการธุรกิจขนาดย่อมได้
  7. เขียนปัญหาในการดำเนินธุรกิจขนาดย่อมได้
  8. เลือกประกอบอาชีพอิสระตามที่ตัวเองชอบได้
  9. เขียนคุณสมบัติของผู้ประกอบอาชีพอิสระได้
  10. เขียนปัญหาและแนะนำผู้อื่นในการประกอบธุรกิจได้


ความหมายของธุรกิจด้านคอมพิวเตอร์
 
          การดำเนินชีวิตของมนุษย์ในสมัยโบราณ มีความแตกต่างกับการดำเนินชีวิตของมนุษย์ในปัจุบันเนื่องจากจำนวนประชากรของมนุษย์ในสมัยโบราณมีจำนวนน้อย แต่ละคนและแต่ละครอบครัวจะดำรงชีวิตอยู่ด้วยตนเองตามลำพัง โดยสร้างที่พักอาศัย ทำเครื่องนุ่งห่ม เพาะปลูกพืช และล่าสัตว์เพื่อเลี้ยงชีพของตนเองตามความสามารถของแต่ละคน เมื่อสังคมของมนุษย์ขยายขึ้น และความถนัดของมนุษย์มีไม่เหมือนกัน บางคนถนัดในการล่าสัตว์ บางคนถนัดในการเพาะปลูก บางคนถนัดในการทำเครื่องนุ่งห่ม จึงเกิดระบบการแลกเปลี่ยน โดยการใช้ของแลกของ (Barter System) กันขึ้น เช่น นำข้าวแลกเนื้อสัตว์นำไข่แลกเสื้อผ้า เป็นต้น แต่การนำของแลกของก็มีปัญหาบางอย่างเกิดขึ้น เพราะสิ่งของบางอย่างแบ่งแยกได้ยาก เช่น ข้าว 3 ถังแลกวัวได้ 1 ตัว แต่ถ้าคนที่มีข้าว 1 ถังต้องการแลกกับวัว 1 ตัวไม่ได้ ต้องมีการแบ่งแยกวัวซึ่งทำได้ยาก หรือบางครั้งความต้องการของคนที่นำมาแลกไม่ตรงกัน เช่น คนที่มีไข่ต้องการแลกกับเสื้อผ้า แต่คนที่มีเสื้อผ้าต้องการข้าวเป็นต้น ดังนั้นระบบการแลกเปลี่ยนของต่อของจึงเปลี่ยนไป โดยใช้สื่อกลางในการแลกเปลี่ยน สิ่งที่แต่ละยุคนำมาใช้เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนขึ้นอยู่กับความพอใจของคนในแต่ละยุคนั้น เช่น เปลือกหอย ทองคำ ฯลฯ ซึ่งได้มีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้เป็นจุดเริ่มต้นของธุรกิจนั่นเอง จากความเป็นมาของการดำเนินชีวิตดังกล่าวสามารถสรุปความหมายของธุรกิจได้ดังนี้             
          ธุรกิจ (Business) หมายถึง กิจกรรมต่าง ๆ ที่ก่อให้เกิดการผลิตสินค้าและบริการโดยมีการซื้อขายแลกเปลี่ยนกัน และมีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการประโยชน์หรือกำไรจากการกระทำกิจกรรมนั้น



แนวทางการตลาด

            ปัจจุบันเทคโนโลยีได้เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วที่เรียกกันว่ายุคนี้ คือ ยุคดิจิตอล ระบบการตลาดก็เช่นเดียวกัน ผลจากเทคโนโลยีทำให้ระบบการตลาดเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์มีความเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่อง ทำให้การตลาดต้องปรับตัวให้ทัน กับระบบการค้า บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเสนอแนวคิดทางการตลาดอิเล็กทรอนิกส์ที่เรียกว่า Electronic Marketing หรือ E-Marketing เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจความแตกต่างระหว่างการตลาดแบบ ดั้งเดิม (Traditional Marketing) กับการตลาดแบบอิเล็กทรอนิกส์ทั้งทางด้านแนวคิด ลูกค้า สินค้าและบริการ  และกลยุทธ์การตลาดที่สำคัญ


การวางแผนการตลาด
          ถ้าท่านคิดจะทำธุรกิจ สิ่งที่จำเป็นประการแรก และ เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดในการประกอบธุรกิจ หรือ กิจกรรมใดๆ ก็แล้ว ก็คือ กิจกรรมทางด้านการตลาด ทุกๆ วัน ท่านควรจะแบ่งเวลาให้กับกิจกรรมทางด้านการตลาด อย่างน้อยวันละ ๒ - ๓ ชั่วโมง แต่ก่อนที่ท่านจะเริ่มดำเนินกิจกรรมทางการตลาด สิ่งแรกที่ท่านจะต้องทำให้เสร็จก่อนก็คือ การวางแผนการตลาด การเขียนแผนการตลาดจะทำให้ท่านมองเห็นภาพที่ชัดเจนว่า ท่านจะจัดการเป้าหมายของงานทางด้านการตลาดของท่านอย่างไร เพื่อให้เป็นการง่ายต่อการเขียนแผนการตลาด แนวทางต่อไปนี้ จะช่วยสร้างความเข้าใจแก่ท่าน แนวทางเหล่านี้ จะเริ่มต้นตั้งแต่ การวิจัย หรือ สำรวจทางการตลาด จนถึงขั้นนำข้อมูลเหล่านั้นมาเขียนเป็นแผนการตลาด แนวทางในการเขียนแผนการตลาดประกอบไปด้วยส่วนต่างๆ สามส่วน ดังต่อไปนี้

ส่วนที่ 1 คำแนะนำเบื้องต้น
·        ประโยชน์ของแผนการตลาด
ส่วนที่ 2 การวิจัยทางด้านการตลาด
·        การวิจัยขั้นปฐมภูมิ (การวิจัยจากข้อมูลเบื้องต้นที่มีอยู่)
·        การวิจัยขั้นทุติยภูมิ (การวิจัยจากการหาข้อมูลเพิ่มเติม)
ส่วนที่ 3 ส่วนผสมของแผนการตลาด
·        เตรียมการเขียนแผนการตลาด
·        สถานการณ์ทางด้านการตลาด
·        ผลกระทบในเชิงลบ และ แนวโน้มในเชิงบวก
·        จุดประสงค์ทางด้านการตลาด
·        เป้าหมายทางด้านการตลาด
·        รายละเอียดของเป้าหมายทางด้านการตลาด
·        งบประมาณทางด้านการตลาด
·        การติดตามผลความก้าวหน้า

·        บทสรุปผู้บริหาร


แผนการขาย

การวางแผน (planning) เป็นภาระกิจขั้นแรกของทุกกระบวนการ เป็นนักขายก็ควรเขียนแผนการขายไว้ล่วงหน้าได้เหมือนกันซึ่งหากแผนที่วางไว้เหมาะสมมีเหตุผลเป็นไปได้ การขายก็จะดำเนินไปอย่างราบรื่นบรรลุวัตถุประสงค์ กระบวนการวางแผนมี 5 ขั้นตอน ได้แก่ การเตรียมการก่อนการวางแผน การวิเคราะห์ปัญหา การกำหนดแผนงานขาย การปฏิบัติตามแผน และการประเมินเมื่อตกลงจะมีการวางแผนงานแล้ว สิ่งสำคัญที่สุดที่จะต้องพิจารณาคือจัดหาข้อมูลมาให้ได้บริบูรณ์ ข้อมูลที่ต้องการคือรายละเอียดเกี่ยวกับปัจจัยทั้งหลาย และต้องเป็นข้อมูลที่น่าเชื่อถือในกรณีขององค์การธุรกิจ การคาดคะเนการขาย (sales forecasting) เป็นข้อมูลพื้นฐานที่จะนำไปสู่การวางแผนขององค์การธุรกิจเป็นที่ทราบกันทั่วไปว่าธุรกิจอยู่ได้ด้วยการมีกำไร กำไรได้มาจากการจำหน่ายซึ่งสามารถจำหน่ายได้สูงกว่าต้นทุน ดังนั้นการจำหน่ายจึงเป็นจุดเริ่มต้นของการวางแผนธุรกิจ ถ้าธุรกิจคาดคะเนว่าจะจำหน่ายได้สูงกว่าปีที่แล้วมา หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ ฝ่ายผลิต จะต้องปรับปรุงวางแผนการผลิตเพิ่มขึ้น ฝ่ายการเงิน จะต้องเตรียมจัดหาเงินมาลงทุนในการจัดซื้อและการเพิ่มค่าใช้จ่ายในการผลิต ฝ่ายการตลาด จะต้องเตรียมผู้คนและวงเงินค่าใช้จ่ายในการจัดจำหน่ายซึ่งจะต้องเพิ่มขึ้นตามอัตราส่วนเพิ่มของสินค้าที่จะจำหน่าย เป็นต้น

แหล่งที่มาของเงินทุน

บ่อยครั้งที่คำว่า ไม่มีเงินถูกใช้เป็นข้ออ้างที่สกัดการเริ่มต้นทำธุรกิจเป็นของตัวเอง เป็นต้นว่าไม่มีทุนบ้าง ไม่มีแหล่งทุนบ้าง และทำให้หลายคนเลือกพับเก็บความคิดที่จะเริ่มต้นธุรกิจเอาไว้ แต่ในความจริงแล้วธุรกิจหลายรูปแบบใช้เงินทุนในการเริ่มตั้งกิจการไม่มากเลย โดยจุดสำคัญในการเริ่มต้นธุรกิจน่าจะอยู่ที่การสร้างผลิตภัณฑ์ที่ดีและตรงความต้องการของลูกค้า มีแนวทางการบริหารและการตลาดที่แข็งแรงขึ้นมาให้ได้ก่อน หลังจากที่เริ่มมีโมเดลธุรกิจที่ชัดเจนและมีจุดเด่นน่าสนใจแล้วการจะออกไปหาเงินทุนเพิ่มเติมเพื่อต่อยอดให้ธุรกิจเติบโตต่อเนื่องก็น่าจะเป็นเรื่องง่ายขึ้นและการทำธุรกิจก็เป็นเรื่องที่เป็นไปได้สูงขึ้น
เมื่อผ่านจุดตั้งต้นธุรกิจมาได้แล้ว จึงถึงเวลาเริ่มมองหาทุนเพื่อขยายกิจการและเร่งการผลิตให้ทันต่อการแข่งขันในตลาด แต่ด้วยความที่ธุรกิจยังอยู่ในจุดเริ่มต้น ยังไม่เป็นที่รู้จัก จึงเป็นเรื่องที่ยากมากที่จะระดมทุนด้วยการยื่นเสนอขายหุ้นในตลาด อย่างไรก็ดี ยังมีแหล่งทุนอื่นๆ ที่เข้าถึงได้และสามารถช่วยธุรกิจขนาดกลางและย่อมที่เพิ่มเริ่มต้นอยู่พอสมควร ตั้งแต่คนใกล้ตัวที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับเราเช่นคุณพ่อคุณแม่ หรือแหล่งเงินทุนที่เป็นองค์กรอย่างธนาคารและนักลงทุน
ธนาคารพาณิชย์ถือเป็นแหล่งเงินทุนอันดับต้นๆ ที่เรามักนึกถึง เนื่องจากพบได้ทั่วไปและมีโปรโมชั่นออกมาเป็นจำนวนมาก แต่การขอสินเชื่อจากธนาคารก็ไม่ใช่เรื่องง่ายเสียทีเดียว เพราะธนาคารก็จะต้องพิจารณาความน่าเชื่อถือและโอกาสในการเติบโตของธุรกิจก่อนจึงจะอนุมัติให้สินเชื่อ โดยแผนส่วนใหญ่จะกำหนดคุณสมบัติของผู้กู้ต้องมีประสบการณ์ในด้านธุรกิจที่เกี่ยวข้องมาแล้ว 1-3 ปี ซึ่งน่าจะเป็นหลักประกันว่าผู้ประกอบการรู้จักธุรกิจนั้นๆ ดีในระดับหนึ่ง อีกทั้งหลายธนาคารก็มีข้อบังคับว่าผู้ประกอบการจะต้องนำเสนอแผนธุรกิจที่ชัดเจนและเป็นไปได้ก่อนการขออนุมัติสินเชื่อด้วย ดังนั้นการกู้ผ่านธนาคารอาจเหมาะกับเจ้าของกิจการที่ดำเนินงานมาสักระยะเกิน 1 ปีขึ้นไป ซึ่งจุดประสงค์ของการให้สินเชื่อก็เพื่อเพิ่มความคล่องตัวของเงินทุนหมุนเวียนและเพื่อการขยายตัวของกิจการ
เมื่อเราตัดสินใจจะกู้เงินจากธนาคารแล้ว เราต้องศึกษาในรายละเอียดว่าในแต่ละแผนกำหนดให้ต้องเตรียมนำเสนออะไรบ้าง อาทิ คนค้ำประกัน หรือเครื่องค้ำประกันอื่นๆ เช่น สิ่งปลูกสร้าง สัญญาเช่าอาคาร แผนพัฒนาธุรกิจ เป็นต้น และธนาคารส่วนใหญ่มักขอดูเอกสารสำคัญของบริษัท เช่น หนังสือรับรองการจดทะเบียนบริษัท เอกสารภาษี ซึ่งการเตรียมการให้พร้อมก็เป็นสิ่งสำคัญในการสร้างความเชื่อมั่นให้ธนาคารอีกทางหนึ่ง
ธนาคารได้ผนวกบทบาทเป็นผู้ให้องค์ความรู้แก่
ผู้ประกอบการ ประคองให้กิจการเดินหน้าไปได้ รวมทั้งสร้างเครือข่ายธุรกิจ
นอกเหนือจากบทบาทแหล่งเงินทุนสินเชื่อแล้ว ช่วงหลังๆ ธนาคารต่างๆ ก็เริ่มเข้ามามีบทบาทในการช่วยสนับสนุนช่วงเริ่มต้นและช่วงการเติบโตอย่างแข็งแกร่งของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมมากขึ้น โดยธนาคารได้ผนวกบทบาทเป็นองค์กรให้องค์ความรู้ผู้ประกอบการ ประคับประคองให้กิจการเดินหน้าไปได้ รวมทั้งสร้างเครือข่ายธุรกิจ อย่างเช่นโครงการ K SME Care ของธนาคารกสิกรไทย ซึ่งให้เจ้าของกิจการไม่ว่าจะเป็นลูกค้าของธนาคารหรือไม่สามารถเข้าร่วมโครงการเพื่อเข้าอบรม รวมทั้งเพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์และมุมมองทางธุรกิจกับเครือข่ายผู้ประกอบการรายอื่นๆ ด้วย
สิ่งที่นักลงทุนจะได้รับจากการลงทุนในธุรกิจหนึ่ง
ขึ้นอยู่กับการเติบโตและ
ผลประกอบการของบริษัทเป็นหลัก ทำให้นักลงทุนมักจะเป็นผู้ให้ความรู้และแนวทางในการดำเนินธุรกิจ หรือบางรายอาจส่งคนจากทีมเข้ามาบริหารงาน
สำหรับแหล่งทุนจากนักลงทุนจะมีวัตถุประสงค์การให้ทุนที่ต่างจากธนาคาร กล่าวคือธนาคารจะได้ประโยชน์จากการให้สินเชื่อโดยเก็บดอกเบี้ยจากผู้ขอสินเชื่อเป็นงวดๆ ไป ในขณะที่นักลงทุนจะมุ่งหวังการครอบครองหุ้นหรือกรรมสิทธิ์ในบริษัท นั่นหมายความว่าสิ่งที่นักลงทุนจะได้รับจากการลงทุนในสักธุรกิจหนึ่งจึงต้องขึ้นอยู่กับการเติบโตและผลประกอบการของบริษัทเป็นหลัก ทำให้นักลงทุนมีอีกลักษณะที่แตกต่างจากธนาคาร คือมักจะเป็นผู้ให้ความรู้และแนวทางในการดำเนินธุรกิจ หรือบางรายอาจส่งคนจากทีมเข้ามาบริหารงานในธุรกิจ
โดยหลักๆ แล้วมีนักลงทุนอยู่ไม่กี่ประเภท ประเภทแรกคือนักลงทุนรายบุคคล หรือที่เรียกว่า angel investor และนักลงทุนระดับองค์กร venture capitals หรือที่เรียกกันบ่อยๆ ว่า VC ซึ่งที่จริงแล้วนักลงทุนทั้งสองประเภทนี้เป็นที่นิยมในบรรดาธุรกิจ startup ต่างประเทศเสียมาก และยังไม่ค่อยมีนักลงทุนประเภทนี้ในประเทศไทยมากนัก
angel investor สามารถเป็นใครก็ได้ ส่วนใหญ่มักเป็นนักลงทุนรายบุคคลทั่วไปที่มีความสนใจในเรื่องต่างๆ แตกต่างกันไป
สำหรับนักลงทุนประเภทนี้เป็นนักลงทุนอิสระที่สามารถให้ทุนเราได้โดยทันที ไม่ต้องมีแบบแผนในการยื่นขอทุนมากมาย เนื่องจากเป็นการติดต่อกับตัวบุคคลโดยตรงและทุนที่ให้ก็มักเป็นเงินทุนส่วนตัว การตัดสินใจให้ทุนก็มักอาศัยความเชื่อมั่นระหว่างกันเสียมาก ขณะเดียวกัน angel investor ก็มักจะเน้นน้ำหนักให้ความสำคัญกับแนวคิดธุรกิจที่น่าสนใจมากกว่าที่จะเน้นเรื่องผลตอบแทนในการลงทุน แต่ก็ใช่ว่าจะไม่สนใจเรื่องผลตอบแทนเลย อันที่จริง angel investor ก็อาจขอผลตอบแทนเป็นสิทธิ์ในการถือหุ้น ส่วนเรื่องการบริหารงานในธุรกิจ angel investor มักจะไม่ค่อยเข้ามาก้าวก่ายการบริหารงานมากนัก มักจะปล่อยให้เจ้าของไอเดียเป็นคนบริหารให้ธุรกิจเดินหน้าไปได้ แต่มักจะเข้ามามีบทบาทเป็นผู้ให้คำปรึกษาและคำแนะนำมากกว่า
angel investor สามารถเป็นใครก็ได้ ส่วนใหญ่มักเป็นนักลงทุนรายบุคคลทั่วไปที่มีความสนใจในเรื่องต่างๆ แตกต่างกันไป นอกจากจะให้ทุนแล้ว angel investor ยังสามารถให้ความช่วยเหลือด้านอื่นๆ เช่นให้ความรู้ สอนประสบการณ์ที่เคยผ่านมา ยิ่งไปกว่านั้นยังอาจช่วยแนะนำให้เราได้รู้จักบุคคลอื่นๆ ที่เป็นสามารถเป็นแหล่งทุนให้เราได้อีกด้วย
VC เป็นนักลงทุนในรูปแบบองค์กร หรืออาจเรียกว่าเป็นองค์กรที่ประกอบขึ้นมาจากนักลงทุนหลายๆ คนรวมตัวกัน มีการรวมเงินลงทุนเป็นก้อนเดียวและบริหารจัดการว่าจะนำเงินลงทุนก้อนใหญ่นั้นไปแบ่งลงทุนกับธุรกิจที่มีแนวโน้มเติบโตสูงอย่างไรบ้าง จึงอาจกล่าวได้ว่า VC อาจพิจารณาให้เงินทุนในจำนวนที่สูงกว่า angel investor ส่วนใหญ่ และเหมาะสำหรับกิจการที่ต้องการเงินก้อนใหญ่
โดยหลักๆ VC จะมุ่งหวังกำไรจากการลงทุนอย่างมาก และมองข้ามขั้นไปจนถึงว่าสามารถขายต่อกิจการของเราเพื่อเก็งกำไรในตลาดหุ้นได้
โดยหลักๆ VC จะมุ่งหวังกำไรจากการลงทุนอย่างมาก และมองข้ามขั้นไปจนถึงว่าสามารถขายต่อกิจการของเราเพื่อเก็งกำไรในตลาดหุ้นได้ ด้วยเหตุนี้ VC จึงมักส่งคนเข้ามาบริหารกิจการ เพื่อกำกับดูแลให้ธุรกิจของเราเติบโตได้ตามคาดหวัง รวมทั้งช่วยให้ความรู้และคำปรึกษาในเรื่องการบริหารธุรกิจด้วย สำหรับระดับการลงทุนของ VC มีตั้งแต่ขั้นเริ่มต้นธุรกิจ ขั้นขยายกิจการ ระยะก่อนการเสนอขายหุ้นแก่สาธารณะชนเป็นครั้งแรก (IPO) หรือแม้แต่ระยะพลิกฟื้นธุรกิจ
อย่างไรก็ตาม ด้วยเหตุที่ว่า VC ให้ความสำคัญเกี่ยวกับกำไร และธรรมชาติของกลุ่มที่ประกอบด้วยนักลงทุนหลายคน การตัดสินใจก่อนอนุมัติให้ทุนจึงใช้เวลาและความรอบคอบอย่างมาก เพื่อให้แน่ใจว่าหากให้ทุนไปแล้วจะไม่สูญเปล่าและได้ผลตอบแทนกลับมาเต็มที่ ดังนั้นการขอทุนจาก VC จึงต้องมีเตรียมตัวนำเสนอธุรกิจอย่างมีระบบแบบแผนที่ชัดเจนและน่าสนใจ ต้องเตรียมเอกสารที่เป็นลายลักษณ์อักษร และที่สำคัญที่สุดคือต้องสามารถอธิบายขั้นตอนและแบบแผนการทำธุรกิจได้อย่างสร้างสรรค์และมีหลักการ จนนักลงทุนกลุ่มนี้สามารถมองเห็นโอกาสที่ชัดเจน และตกลงปลงใจที่จะให้เงินเราในท้ายที่สุด
แต่ทั้งนี้ไม่ว่าจะหาทุนด้วยการขอสินเชื่อธนาคารหรือขอทุนจากนักลงทุน หรือแม้แต่จากคนรู้จักที่มีความหวังดีต่อเราก็ตาม สิ่งที่เราควรทำคือต้องรักษามารยาทในการดำเนินการขอความช่วยเหลือ ตั้งแต่นำเสนอโครงการอย่างตั้งใจและมุ่งมั่น ยินดีตอบข้อซักถาม ต้องประเมินสถานการณ์อย่างเป็นกลางและรับฟังสิ่งที่ผู้อื่นพูดอย่างตั้งใจเสมอ รวมทั้งเปิดโอกาสให้ผู้ร่วมลงทุนมีส่วนแสดงความคิดเห็นด้วย สิ่งเหล่านี้เป็นพื้นฐานของความสำเร็จในการหาทุนและการทำธุรกิจด้วย

คุณสมบัติของผู้ประกอบธุรกิจขนาดย่อม

บุคคลที่มีความสนใจ  และเตรียมตัวเข้าสู่ธุรกิจขนาดย่อม  ต้องมีคุณสมบัติของนักธุรกิจที่ดี คือ
      1.  มีความรู้และประสบการณ์เกี่ยวกับงานอาชีพ  จากการศึกษาเล่าเรียนและการทำงานจะทำให้มีความรู้และประสบการณ์พื้นฐาน  สามารถนำมาประยุกต์กับธุรกิจของตนเองได้
      2.  มีความพร้อมที่จะทำงานหนัก  มีความอดทน
      3.  มีมนุษยสัมพันธ์ มีอัธยาศัยที่ดีกับบุคคลทั่วไป
      4.  สื่อสารกับบุคคลอื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ
      5.  มีภาวะผู้นำ
      6.  มีความภาคภูมิใจในผลงาน
      7.  มีความรับผิดชอบ
      8.  กล้าเสี่ยงและกล้าตัดสินใจ
      สรุปคุณสมบัติของผู้ประกอบการที่ต้องการความสำเร็จ  คือ  มีความพร้อมด้านจิตใจ  ความรู้ความสามารถ มีมนุษยสัมพันธ์  ความสามารถในการติดต่อสื่อสาร  และความสามารถในการบริหารจัดการ

ปัญหาในการดำเนินธุรกิจขนาดย่อม

1.  ปัญหาด้านการจัดการ ผู้ประกอบธุรกิจขนาดย่อมส่วนใหญ่ขาดประสบการณ์และขาดทักษะในการจัดการ  เนื่องจากธุรกิจขนาดย่อมเป็นกิจการของตนเอง  จึงจำเป็นต้องมีความรู้ความสามารถในทุก ๆ ด้าน  เช่น  ความเป็นผู้นำ  รู้จักการวางแผนที่ดี  การนำเสนอขายและให้บริการลูกค้า  เป็นต้น
     2.  ปัญหาด้านการเงิน การประกอบธุรกิจขนาดย่อม  ผู้ประกอบการ  คือ  เจ้าของกิจการการควบคุมด้านการเงินไม่มีมาตรการที่ดีพอ  ก่อให้เกิดการขาดแคลนเงินทุน  มีการรั่วไหลของการใช้จ่ายทำให้ธุรกิจขาดสภาพคล่องจึงทำให้ธุรกิจล้มเหลวได้ง่าย

การเลือกประกอบอาชีพอิสระ

          การประกอบอาชีพอิสระ คือ การประกอบกิจการส่วนตัวต่าง ๆ ในการผลิตสินค้าหรือบริการที่ถูกต้องตามกฎหมาย เป็นธุรกิจของตนเองไม่ว่าธุรกิจนั้นจะเล็กหรือใหญ่ก็ตาม  ซึ่งผู้ประกอบการสามารถที่จะกำหนดรูปแบบและวิธีดำเนินงานของตัวเองได้ตามความเหมาะสม ไม่มีเงินเดือนหรือมีรายได้ที่แน่นอนตายตัว ผลตอบแทนคือเงินกำไรจากการลงทุนนั่นเอง

การประกอบอาชีพอิสระดีอย่างไร
          ปัจจุบัน แม้ว่าการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศจะเพิ่มสูงขึ้น โครงการต่าง ๆ เกิดขึ้นหลายโครงการ ทำให้มีตำแหน่งงานว่างเป็นจำนวนมาก แต่ก็ยังไม่สามารถรองรับกำลังแรงงานซึ่งเพิ่มขึ้นในแต่ละปีได้ อีกทั้งการเป็นลูกจ้าง ข้าราชการและพนักงานในหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน ส่วนใหญ่ต้องเป็นผู้ที่มีคุณสมบัติที่หน่วยงานนั้น ๆ ต้องการ เช่น คุณวุฒิทางการศึกษา ประสบการณ์หรือแรงงานที่มีทักษะ เป็นต้น คุณสมบัติเหล่านี้ได้กลายมาเป็นข้อจำกัดที่ปิดกั้นโอกาสของคนอีกหลายกลุ่มไม่ให้สามารถเข้าสู่ตลาดแรงงานได้ โดยเฉพาะภาครัฐได้กำหนดอัตราการเพิ่มของข้าราชการไว้เพียง 2% นั่นย่อมหมายถึงโอกาสในการเป็นข้าราชการน้อยมาก ดังนั้น
          การประกอบอาชีพอิสระจึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับผู้ว่างงาน แรงงานที่กลับจากการทำงานต่างประเทศ เยาวชนที่เข้าสู่ตลาดแรงงานใหม่ กลุ่มคนด้อยโอกาสต่าง ๆ ควรจะหันมาสนใจประกอบอาชีพอิสระ ซึ่งเป็นการประกอบอาชีพส่วนตัว บริหารด้วยตนเอง เป็นทั้งเจ้านายและลูกน้องในขณะเดียวกัน และการมีกำไรหรือขาดทุนขึ้นอยู่กับการบริหารของตนเอง นอกจากนี้ การประกอบอาชีพอิสระยังไม่มีข้อจำกัด ด้านคุณวุฒิการศึกษา หากแต่เป็นการเปิดโอกาสให้กับทุกคนสามารถประกอบอาชีพได้ตามความสามารถและความสนใจของตนเอง
ผลดีของการเป็นผู้ประกอบอาชีพอิสระคือ
          1. เป็นเจ้านายตนเอง สามารถใช้ความรู้ ความสามารถที่ตนเองถนัดได้อย่างเต็มที่
          2.กำหนดการทำงานเอง สามารถกำหนดรูปแบบและวิธีการดำเนินงานของตนเองได้ตามความเหมาะสมของธุรกิจ
         3. รับผิดชอบกิจการเองทั้งหมด
         4. ตัดสินใจเอง มีอิสระในการตัดสินใจในเรื่องต่าง ๆ อย่างเต็มที่ เพราะเป็นเจ้าของเงินทุน
         5.เป็นอิสระ ไม่ต้องเป็นลูกจ้างใคร ไม่ต้องรับคำสั่งจากใคร จะทำอะไร ที่ไหน เมื่อไร เวลาใด สามารถกำหนดเองได้ทั้งสิ้น รวมทั้งความเป็นอิสระด้านความคิดสร้างสรรค์ได้อีกด้วย
         6. รายได้ไม่จำกัด ผลตอบแทนจากการดำเนินกิจการคือเงินกำไร
ซึ่งหากกิจการประสบผลสำเร็จ กำไรย่อมมากตามไปด้วย และถ้าธุรกิจนั้นมี
เจ้าของเพียงคนเดียว กำไรก็ไม่ต้องแบ่งกับใคร


คุณสมบัติของการเป็นผู้ประกอบอาชีพอิสระ

           การเป็นผู้ประกอบอาชีพอิสระจำเป็นจะต้องมีคุณสมบัติต่างๆ เพื่อประกอบการเป็นผู้ประกอบอาชีพอิสระอย่างมีอิสระอย่างมีคุณภาพ ได้แก่
กล้าเสี่ยง (Taking risk) การประกอบอาชีพอิสระ แตกต่างจากการเป็นลูกจ้าง เนื่องจากต้องมีการลงทุน ในขณะที่เป็นลูกจ้างไม่ต้องลงทุนอะไร การลงทุนนั้นเป็นการเสี่ยงอย่างหนึ่ง ซึ่งไม่รู้ว่าสิ่งที่เราลงทุนนั้นจะได้กำไรหรือขาดทุน แต่ในความเสี่ยงนั้น ผู้ประกอบอาชีพอิสระจะต้องไตร่ตรองให้รอบคอบและมีเหตุผลก่อนที่จะลงทุน รวมทั้งมีจิตใจอยากเป็นผู้ชนะเสมอ
มีความคิดสร้างสรรค์ (Taking initiative) การประกอบอาชีพอิสระมิได้ยึดติดกับรูปแบบใด ๆ เนื่องจาก
ผู้ประกอบอาชีพอิสระต้องเป็นนายของตนเอง ดังนั้น ในการปรับปรุงสินค้าหรือบริการสามารถทำได้อย่างมีอิสระ เพื่อให้ได้มาซึ่งกำไรในการดำเนินธุรกิจ
มีความเชื่อมั่นในตนเอง ผู้ประกอบอาชีพอิสระ จะต้องเป็นผู้ที่มีความเชื่อมั่นในตนเอง (Self - Confidence) ในการดำเนินกิจการของตนเอง จะรอให้ใครมาช่วยเหลืออยู่ตลอดเวลาย่อมเป็นไปไม่ได้
อดทน (Persistence and dealing with failure) การดำเนินธุรกิจของตนเองย่อมมีทั้งกำไรและขาดทุน โดยเฉพาะขั้นแรกจะต้องประสบปัญหาและอุปสรรคบ้าง ซึ่งถือได้ว่าเป็นเรื่องธรรมดา จะต้องเป็นผู้กล้ารับผิดและถูกในเวลาเดียวกัน และพร้อมที่จะยอมรับข้อผิดพลาด และแก้ไขข้อผิดพลาดด้วยตัวเองเสมอ หากพร้อมที่จะต่อสู้ปัญหาเหล่านั้น จุดหมายที่ตั้งไว้ก็จะประสบผลสำเร็จในที่สุด
มีวินัยในตนเอง (Having discipline) การประสบความสำเร็จในอาชีพซึ่งเราเป็นเจ้าของกิจการเอง จำเป็นต้องมีวินัย มีกฎระเบียบ การทำงนต้องทำสม่ำเสมอ มิเช่นนั้นความสำเร็จในอาชีพอาจจะไม่ประสบผลสำเร็จเลย
มีทัศนคติที่ดีต่ออาชีพ (Good attitude) ไม่ว่างานนั้นจะเป็นงานที่มีเกียรติหรือไม่ ผู้ประกอบอาชีพอิสระจะต้องรักในงานที่ทำ และให้เกียรติกับงานนั้น ๆ เสมอ)
มีความรอบรู้ (Seeking information) การประกอบอาชีพอิสระ จะต้องรับรู้ข่าวสารอยู่เสมอ เพื่อปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก ซึ่งเปลี่ยนแปลงไปเร็วมาก ประโยชน์ของการรับรู้ข่าวสารจะทำให้สามารถปรับปรุงธุรกิจของตนเองให้ทันสมัยอยู่ตลอดเวลา ผลที่ได้คือกำไรนั่นเอง
มีมนุษย์สัมพันธ์ (Good human relationship) การประกอบอาชีพอิสระ จะต้องเป็นผู้มีมนุษย์สัมพันธ์อันดี เพื่อผลประโยชน์ในธุรกิจของตนเอง ไม่ว่าจะเป็นลูกค้า บุคคลรอบข้าง หรือคู่แข่งก็ตาม เพราะการมีมนุษย์สัมพันธ์อันดี จะทำให้มีความคล่องตัวในการดำเนินงานเป็นอย่างยิ่ง
มีความซื่อสัตย์ (Honesty with customer) ผู้ประกอบอาชีพอิสระ จะต้องมีความซื่อสัตย์และจริงใจต่อลูกค้า การบริการลูกค้าให้เกิดความประทับใจในการขายสินค้าหรือบริการและกลับมาใช้บริการอีกเป็นหัวใจสูงสุด เพื่อผลประโยชน์ต่อธุรกิจและต่อตัวเองในที่สุด


ปัญหาและข้อแนะนำในการประกอบธุรกิจ


การแก้ไข: 
          การวางแผนที่ดีนั้นจะช่วยให้ธุรกิจของเราสามารถควบคุมอนาคตของบริษัทได้ และถ้าดำเนินตามแผนที่ตั้งไว้ต่อไปเรื่อยๆ ก็จะพาเราไปสู่จุดหมายและความสำเร็จได้ไม่ยาก และนี่คือ 6 คำแนะนำที่จะช่วยให้เราวางแผนธุรกิจได้ง่ายขึ้น
  • มีการประเมินสภาพธุรกิจอยู่บ่อยๆ ว่าตอนนี้ได้กำไร ขาดทุน หรือมีสภาพคล่องทางการเงินเป็นอย่างไรบ้าง
  • ให้ความสำคัญกับการทำ SWOT: Strength (จุดแข็ง), Weakness (จุดอ่อน), Opportunity (โอกาส), Threat (ความเสี่ยง)
  • มีการกำหนดเป้าหมายของการทำธุรกิจให้แน่ชัด และต้องนำมาวิเคราะห์ใหม่อยู่ตลอด ถ้าเกิดการเปลี่ยนแปลงอะไร
  • เริ่มต้นจากการวาดภาพรวมคร่าวๆ ในหัวตั้งแต่ต้นจนจบว่าธุรกิจเราจะดำเนินไปในทางใด ก่อนที่จะลงรายละเอียดในเวลาต่อมา
  • ควรกำหนดเป้าหมายย่อยๆ ไว้ระหว่างดำเนินไปถึงเป้าหมายใหญ่ เพื่อที่จะสามารถวัดได้ว่าตอนนี้เรามาได้กี่เปอร์เซ็นแล้ว และมีอะไรที่ยังต้องปรับปรุงอยู่บ้าง
  • วางแผนต่อๆ ไป และพยายามทำให้ได้ตามแผนนั้น
เฉลยแบบทดสอบ
1ตอบ ก
2ตอบ ข
3ตอบ ก
4ตอบ ค
5ตอบ ค
6ตอบ ก 
7ตอบ ง
8ตอบ ข
9ตอบ ง
10ตอบ ข
11ตอบ ค
12ตอบ ค 
13ตอบ ค
14ตอบ ก
15ตอบ ก