วันพุธที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2557

พื้นฐานคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ หน่วยที่ 1



สาระสำคัญ

       ก่อนการใช้งานหรือประกอบคอมพิวเตอร์นั้นควรทราบถึงพื้นฐานด้านต่าง ๆ ของคอมพิวเตอร์ รวมทั้งรู้จักอุปกรณ์ต่อพ่วง ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนสามารถนึกภาพรวมของ เครื่องคอมพิวเตอร์ได้ รวมทั้งเป็นพื้นฐานในการแก้ปัญหาและการเลือกซื้ออุปกรณ์ให้เหมาะสมแก่การใช้งานได้ต่อไป


เรื่องที่จะศึกษา

- องค์ประกอบในการใช้งานคอมพิวเตอร์
- อุปกรณ์คอมพิวเตอร์


จุดประสงค์การเรียนรู้

1. อธิิบายองค์ประกอบในการใช้งานคอมพิวเตอร์ได้
2. อธิบายรายละเอียดขององค์ประกอบต่าง ๆ ได้
3. อธิบายอุปกรณ์ฮารด์แวร์ขั้นพื้นฐานได้
4. อธิบายรายละเอียดเกี่ยวกับอุปกรณ์ต่อพ่วงต่าง ๆ ได้



1.องค์ประกอบในการใช้งานคอมพิวเตอร์

คอมพิวเตอร์ทำงานอย่างเป็นระบบ (System) หมายถึงภายในระบบงานคอมพิวเตอร์ ประกอบด้วยองค์ประกอบย่อยที่มีหน้าที่เฉพาะ ทำงานประสานสัมพันธ์กัน เพื่อให้งานบรรลุตามเป้าหมาย ในระบบงานคอมพิวเตอร์
การที่มีเครื่องคอมพิวเตอร์เพียงอย่างเดียว จะยังไม่สามารถทำงานได้ด้วยตัวเอง ซึ่งหากจะให้คอมพิวเตอร์ทำงานได้อย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพแล้ว ระบบคอมพิวเตอร์ควรจะประกอบไปด้วยองค์ประกอบคือ บุคลากร (Peopleware)ฮาร์ดแวร์ (Hardware) ซอฟต์แวร์ (Software)   ข้อมูล(Data) สารสนเทศ(Information)     และกระบวนการทำงาน ( Procedure )

1.   ฮาร์ดแวร์ Hardware ) ฮาร์ดแวร์เป็นองค์ประกอบของตัวเครื่องที่สามารถจับต้องได้ ได้แก่ วงจรไฟฟ้า ตัวเครื่อง จอภาพ เครื่องพิมพ์ คีร์บอร์ด เป็นต้นซึ่งสามารถแบ่งส่วนพื้นฐานของฮาร์ดแวร์เป็น 4 หน่วยสำคัญ
1.1 หน่วยรับข้อมูลหรืออินพุต Input Unit) ทำหน้าที่รับข้อมูลและโปรแกรมเข้า เครื่อง มีโครงสร้างดังรูป 1.3 ได้แก่ คีย์บอรืดหรือแป้นพิมพ์ เมาส์ เครื่องสแกน เครื่องรูดบัตร Digitizer เป็นต้น
1.2 ระบบประมวลผลกลางหรือซีพียู (CPU : Central Processing Unit) ทำหน้าที่ในการทำงานตามคำสั่งที่ปรากฏอยู่ในโปรแกรม ปัจจุบันซีพียูของเครื่องพีซี รู้จักในนามไมโครโปรเซสเซอร์ ( Micro Processor) หรือ Chip เช่นบริษัท Intelคือ Pentium หรือ Celelon ส่วนของบริษัท AMD คือ K6,K7(Athlonเป็นต้น  ไมโครโปรเซสเซอร์ มีหน้าที่ในการประมวลผลข้อมูล ในลักษณะของการคำนวณและเปรียบเทียบ โดยจะทำงานตามจังหวะเวลาที่แน่นอน เรียกว่าสัญญาณ Clock เมื่อมีการเคาะจังหวะหนึ่งครั้ง ก็จะเกิดกิจกรรม ครั้ง เราเรียกหน่วย ที่ใช้ในการวัดความเร็วของซีพียูว่า เฮิร์ท”(Herztหมายถึงการทำงานได้กี่ครั้งในจำนวน วินาที เช่น ซีพียู Pentium4 มีความเร็ว 2.5 GHz หมายถึงทำงานเร็ว 2,500 ล้านครั้ง ในหนึ่งวินาที กรณีที่สัญญาณ Clock เร็วก็จะทำให้คอมพิวเตอร์เครื่องนั้น มีความเร็วสูง  และ ซีพียูที่ทำงานเร็วมาก ราคาก็จะแพงขึ้นมากตามไปด้วย
1.3 หน่วยเก็บข้อมูล Storage ) ซึ่งสามารถแยกตามหน้าที่ได้เป็น 2 ลักษณะ คือ
        1.3.1  หน่วยเก็บข้อมูลหลักหรือความจำหลัก ( Primary Storage หรือ Main Memory ) ทำหน้าที่เก็บโปรแกรมหรือข้อมูลที่รับมาจากหน่วยรับข้อมูลเพื่อเตรียมส่งให้หน่วยประมวลผลกลางทำการประมวลผล และรับผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลเพื่อส่งออกหน่วยแสดงข้อมูลต่อไปซึ่งอาจแยกได้เป็น 2 ประเภท คือ RAM ( Random Access Memory ) ที่สามารถอ่านและเขียนข้อมูลได้ในขณะที่เปิดเครื่องอยู่ แต่เมื่อปิดเครื่องข้อมูลใน RAM จะหายไป และ ROM ( Read Only Memory ) จะอ่านได้อย่างเดียว เช่น  BIOS (Basic Input Output system)  โปรแกรมฝังไว้ใช้ตอนสตาร์ตเครื่อง  เพื่อเครื่องคอมพิวเตอร์เริ่มต้นทำงาน เป็นต้น
     1.3.2   หน่วยเก็บข้อมูลสำรอง Secondary Storage ) เป็นหน่วยที่ทำหน้าที่เก็บข้อมูล หรือโปรแกรมที่จะป้อนเข้าสู่หน่วยความจำหลักภายในเครื่องก่อนทำการประมวลผลโดยซีพียู รวมทั้งเป็นที่เก็บผลลัพธ์จากการประมวลผลด้วย ปัจจุบันรู้จักในนามฮาร์ดดิสก์ (Hard disk) หรือแผ่นฟร็อปปีดิสก์ (Floppy Disk) ซึ่งเมื่อปิดเครื่องข้อมูลจะยังคงเก็บอยู่
1.4 หน่วยแสดงข้อมูลหรือเอาต์พุต Output Unit ) ทำหน้าที่ในการแสดงผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผล ได้แก่ จอภาพ และเครื่องพิมพ์ เป็นต้น ทั้ง 4 ส่วนจะเชื่อมต่อกันด้วยบัส ( Bus )

2 ซอฟต์แวร์ Software )
ซอฟต์แวร์ คือโปรแกรมหรือชุดคำสั่ง ที่สั่งให้ฮาร์ดแวร์ทำงาน รวมไปถึงการควบคุมการทำงาน ของอุปกรณ์แวดล้อมต่างๆ เช่น ฮาร์ดดิสก์ ดิสก์ไดร์ฟ ซีดีรอม การ์ดอินเตอร์เฟสต่าง ๆ เป็นต้น ซอฟต์แวร์ เป็นสิ่งที่มองไม่เห็นจับต้องไม่ได้ แต่รับรู้การทำงานของมันได้ ซึ่งต่างกับ ฮาร์ดแวร์ (Hardware) ที่สามารถจับต้องได้  ซึ่งแบ่งเป็น ประเภทคือ
2.1  ซอฟต์แวร์ระบบ ( System Software ) คือโปรแกรม ที่ใช้ในการควบคุมระบบการ ทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ทั้งหมด เช่น การบูตเครื่อง การสำเนาข้อมูล การจัดการระบบของดิสก์ ชุดคำสั่งที่เขียนเป็นคำสั่งสำเร็จรูป โดยผู้ผลิตเครื่องคอมพิวเตอร์ และมีมาพร้อมแล้วจากโรงงานผลิต การทำงานหรือการประมวลผล ของซอฟต์แวร์เหล่านี้ ขึ้นกับเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่อง ระบบของซอฟต์แวร์เหล่านี้ ออกแบบมาเพื่อการปฏิบัติควบคุม และมีความสามารถในการยืดหยุ่น การประมวลผลของเครื่องคอมพิวเตอร์ แบ่งออกเป็น 4 ประเภทคือ
2.1.1 โปรแกรมระบบปฏิบัติการ (Operating System) เป็นโปรแกรมที่ใช้ควบคุม และติดต่อกับอุปกรณ์ต่าง ๆ ของเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยเฉพาะการจัดการระบบของดิสก์ การบริหารหน่วยความจำของระบบ กล่าวโดยสรุปคือ หากจะทำงานใดงานหนึ่ง โดยใช้คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือ ในการทำงาน แล้วจะต้องติดต่อกับซอฟต์แวร์ระบบก่อน ถ้าขาดซอฟต์แวร์ชนิดนี้ จะทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ ไม่สามารถทำงานได้ ตัวอย่างของซอฟต์แวร์ประเภทนี้ได้แก่ โปรแกรมระบบปฏิบัติการ Unix Linux  DOS และWindows (เวอร์ชั่นต่าง ๆ เช่น 95 98 me 2000 NT XP Vista ) เป็นต้น
                2.1.2  ตัวแปลภาษา (Translator)  จาก Source Code ให้เป็น Object Code (แปลจากภาษาที่มนุษย์เข้าใจ ให้เป็นภาษาที่เครื่องเข้าใจ เปรียบเสมือนล่ามแปลภาษา) เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการแปลภาษาระดับสูง ซึ่ง เป็นภาษาใกล้เคียงภาษามนุษย์ ให้เป็นภาษาเครื่องก่อนที่จะนำไปประมวลผล ตัวแปลภาษาแบ่งออกเป็นสองประเภทคือ คอมไพเลอร์ (Compiler) และอินเตอร์พีทเตอร์(Interpeterคอมไพเลอร์จะแปลคำสั่งในโปรแกรมทั้งหมดก่อน แล้วทำการลิ้ง (Link) เพื่อให้ได้คำสั่งที่เครื่องคอมพิวเตอร์เข้าใจ ส่วนอินเตอร์พีทเตอร์จะแปลทีละประโยคคำสั่ง แล้วทำงานตามประโยคคำสั่งนั้น การจะเลือกใช้ตัวแปลภาษาแบบใดนั้น จะขึ้นอยู่กับภาษาที่ใช้ในการเขียนโปรแกรม ซึ่งมี แบบได้แก่ ภาษาแบบโครงสร้าง   เช่น ภาษาเบสิก (Basic) ภาษาปาสคาล (Pascal) ภาษาซี (C) ภาษาจาวา(Java)ภาษาโคบอล (Cobol) ภาษา SQLภาษา HTML เป็นต้น  ภาษาแบบเชิงวัตถุ ( Visual หรือ Object Oriented Programming ) เช่น Visual Basic,Visual C หรือ Delphi เป็นต้น
2.1.3  ยูติลิตี้ โปรแกรม (Utility Program) คือซอฟต์แวร์เสริมช่วยให้เครื่องทำงานมีประสิทธิภาพ มากขึ้น เช่น ช่วยในการตรวจสอบดิสก์ ช่วยในการจัดเก็บข้อมูลในดิสก์ ช่วยสำเนาข้อมูล ช่วยซ่อมอาการชำรุดของดิสก์ ช่วยค้นหาและกำจัดไวรัส ฯลฯ เป็นต้นโปรแกรมในกลุ่มนี้ได้แก่ โปรแกรม Norton Winzip Scan virus Sidekick Scandisk Screen Saver ฯลฯ เป็นต้น
2.1.4  ติดตั้งและปรับปรุงระบบ (Diagonostic Program) เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการติดตั้งระบบ เพื่อให้คอมพิวเตอร์สามารถติดต่อและใช้งานอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่นำมาติดตั้งระบบ ได้แก่ โปรแกรม Setupและ Driver ต่าง ๆ เช่น โปรแกรม Setup Microsoft Office โปรแกรม Driver Sound ,  Driver Printer , Driver Scanner ฯลฯ เป็นต้น
2.2  ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software)
คือ ซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมที่ทำให้คอมพิวเตอร์ทำงานต่างๆ ตามที่ผู้ใช้ต้องการ ไม่ว่าจะด้านเอกสาร บัญชี การจัดเก็บข้อมูล เป็นต้น ซอฟต์แวร์ประยุกต์สามารถจำแนกได้เป็น 2 ประเภท คือ
            2.2.1 ซอฟต์แวร์สำหรับงานเฉพาะด้าน (Special Purpose Software)  คือ โปรแกรมซึ่งเขียนขึ้นเพื่อการทำงานเฉพาะอย่างที่เราต้องการ บางที่เรียกว่า User’s Program เช่น โปรแกรมการทำบัญชีจ่ายเงินเดือน โปรแกรมระบบเช่าซื้อ โปรแกรมการทำสินค้าคงคลัง เป็นต้น ซึ่งแต่ละโปรแกรมก็มักจะมีเงื่อนไข หรือแบบฟอร์มแตกต่างกันออกไปตามความต้องการ หรือกฏเกณฑ์ของแต่ละหน่วยงานที่ใช้ ซึ่งสามารถดัดแปลงแก้ไขเพิ่มเติม (Modifications) ในบางส่วนของโปรแกรมได้ เพื่อให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้ และซอฟต์แวร์ประยุกต์ที่เขียนขึ้นนี้โดยส่วนใหญ่มักใช้ภาษาระดับสูงเป็นตัวพัฒนา
            2.2.2 ซอฟต์แวร์สำหรับงานทั่วไป (General Purpose Software) เป็นโปรแกรมประยุกต์ที่มีผู้จัดทำไว้ เพื่อใช้ในการทำงานประเภทต่างๆ ทั่วไป โดยผู้ใช้คนอื่นๆ สามารถนำโปรแกรมนี้ไปประยุกต์ใช้กับข้อมูลของตนได้ แต่จะไม่สามารถทำการดัดแปลง หรือแก้ไขโปรแกรมได้ ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องเขียนโปรแกรมเอง ซึ่งเป็นการประหยัดเวลา แรงงาน และค่าใช้จ่ายในการเขียนโปรแกรม นอกจากนี้ ยังไม่ต้องเวลามากในการฝึกและปฏิบัติ ซึ่งโปรแกรมสำเร็จรูปนี้ มักจะมีการใช้งานในหน่วยงาน ซึ่งขาดบุคลากรที่มีความชำนาญเป็นพิเศษในการเขียนโปรแกรม ดังนั้น การใช้โปรแกรมสำเร็จรูปจึงเป็นสิ่งที่อำนวยความสะดวกและเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง ตัวอย่างโปรแกรมสำเร็จรูปที่นิยมใช้ได้แก่ MS-Office, Lotus, Adobe Photoshop, SPSS, Internet Explorer และ เกมส์ต่างๆ เป็นต้น


3 บุคลากร Peopleware )
                บุคลากรจะเป็นสิ่งสำคัญที่จะเป็นตัวกำหนดถึงประสิทธิภาพถึงความสำเร็จและความคุ้มค่าในการใช้งานคอมพิวเตอร์ ซึ่งสามารถแบ่งบุคลากรตามหน้าที่เกี่ยวข้องตามลักษณะงานได้ 6 ด้าน ดังนี้
3.1  นักวิเคราะห์และออกแบบระบบ (Systems Analyst and Designer  :  SA ) ทำหน้าที่ศึกษาและรวบรวมความต้องการของผู้ใช้ระบบ และทำหน้าที่เป็นสื่อกลางระหว่างผู้ใช้ระบบและนักเขียนโปรแกรม (Programmer) หรือปรับปรุงคุณภาพงานเดิม  นักวิเคราะห์ระบบต้องมีความรู้เกี่ยวกับระบบคอมพิวเตอร์ พื้นฐานการเขียนโปรแกรม และควรจะเป็นผู้มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี
3.2  โปรแกรมเมอร์ ( Programmer ) คือบุคคลที่ทำหน้าที่เขียนซอฟต์แวร์ต่างๆ(Software )หรือเขียนโปรแกรมเพื่อสั่งงานให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานตามความต้องการของผู้ใช้ โดยเขียนตามแผนผังที่นักวิเคราะห์ระบบได้เขียนไว้
3.3  ผู้ใช้ ( User ) เป็นผู้ใช้ระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งจะเป็นผู้ปฏิบัติหรือกำหนดความต้องการในการใช้ระบบคอมพิวเตอร์ว่าทำงานอะไรได้บ้าง     ผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ทั่วไป จะต้องเรียนรู้วิธีการใช้เครื่อง และวิธีการใช้งานโปรแกรม เพื่อให้โปรแกรมที่มีอยู่สามารถทำงานได้ตามที่ต้องการ
3.4  ผู้ปฏิบัติการ (Operator ) สำหรับระบบขนาดใหญ่  เช่น เมนเฟรม  จะต้องมีเจ้าหน้าที่คอมพิวเตอร์ที่คอยปิดและเปิดเครื่อง  และเฝ้าดูจอภาพเมื่อมีปัญหาซึ่งอาจเกิดขัดข้อง  จะต้องแจ้ง System  Programmer  ซึ่งเป็นผู้ดูแลตรวจสอบแก้ไขโปรแกรมระบบควบคุมเครื่อง (System  Software) อีกทีหนึ่ง 
3.5  ผู้บริหารฐานข้อมูล ( Database Administrator : DBA ) กลุ่มบุคคลที่ทำหน้าที่ดูแลข้อมูลผ่านระบบจัดการฐานข้อมูล ซึ่งจะควบคุมให้การทำงานเป็นไปอย่างราบรื่น นอกจากนี้ยังทำหน้าที่กำหนดสิทธิการใช้งานข้อมูล กำหนดในเรื่องความปลอดภัยของการใช้งาน   พร้อมทั้งดูแลดาต้าเบสเซิร์ฟเวอร์ (Database Server) ให้ทำงานอย่างปกติด้วย
3.6  ผู้จัดการระบบ (System Manager) คือ ผู้วางนโยบายการใช้คอมพิวเตอร์ให้เป็นไปตามเป้าหมายของหน่วยงาน  เป็นผู้ที่มีความหมายต่อความสำเร็จหรือล้มเหลวของการนำระบบคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้งานเป็นอย่างมาก

4.  ข้อมูลและสารสนเทศ
 4.1 ข้อมูล (Data) หมายถึง ข้อเท็จจริงหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น แล้วใช้ตัวเลขตัวอักษร หรือสัญลักษณ์ ต่างๆ ทำความหมายแทนสิ่งเหล่านั้น เช่น
·         คะแนนสอบวิชาภาษาไทยของนักเรียน
·         อายุของพนักงานในบริษัทชินวัตรจำกัด
·         ราคาขายของหนังสือในร้านหนังสือดอกหญ้า
·         คำตอบที่ผู้ถูกสำรวจตอบในแบบสอบถาม
4.2 สารสนเทศ (Information) หมายถึง ข้อสรุปต่างๆ ที่ได้จากการนำข้อมูลมาทำการวิเคราะห์ หรือผ่านวิธีการที่ ได้กำหนดขึ้น ทั้งนี้เพื่อนำข้อสรุปไปใช้งานหรืออ้างอิง เช่น
·         เกรดเฉลี่ยของวิชาภาษาไทยของนักเรียน
·         อายุเฉลี่ยของพนักงานในบริษัทชินวัตรจำกัด
·         ราคาขายสูงสุดของหนังสือในร้านหนังสือดอกหญ้า
·         ข้อสรุปจากการสำรวจคำตอบในแบบสอบถาม
5.  กระบวนการทำงาน Procedure )
องค์ประกอบด้านนี้หมายถึงกระบวนการทำงานเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตามต้องการ ในการทำงานกับคอมพิวเตอร์ผู้ใช้จำเป็นต้องทราบขั้นตอนการทำงานเพื่อให้ได้งานที่ถูกต้องและมีประสิทธิภาพ ซึ่งอาจจะมีขั้นตอนสลับซับซ้อนหลายขั้นตอน ดังนั้นจึงมีความจำเป็นต้องมีคู่มือปฏิบัติงาน เช่น คู่มือผู้ใช้ ( user manual ) หรือคู่มือผู้ดูแลระบบ ( operation manual ) เป็นต้น

2. อุปกรณ์คอมพิวเตอร์


ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์ แบ่งตามหน้าที่การทำงานได้เป็น 4 กลุ่ม คือ หน่วยรับข้อมูล  หน่วยประมวลผลข้อมูล  หน่วยความจำ    และหน่วยแสดงผลข้อมูล

1.  หน่วยรับข้อมูล  ได้แก่
   - เมาส์ (Mouse)   เป็นอุปกรณ์ที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการสั่งโปรแกรมให้ทำงานได้ตามต้องการ โดยทั่วไปจะเป็นตัวที่ใช้ควบคุมลูกศรให้เคลื่อนที่ไปยังตำแหน่งต่างๆ บนจอภาพ เหมาะสำหรับใช้งานเมื่อต้องเลือก หรือเลื่อนวัตถุต่างๆ บนจอ

ที่มา : http://www.siamget.com/buyerguide/286


- แป้นพิมพ์ (Keyboard) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่รับข้อมูลโดยการกดปุ่มที่แป้นพิมพ์
ที่มา : http://undocomputer.blogspot.com/2012/07/keyboard.html




2.  หน่วยประมวลผลข้อมูล  ได้แก่
   - CPU (Central Processing Unit) ทำหน้าที่ประมวลผลข้อมูลตามคำสั่งที่รับมาจากหน่วยรับข้อมูล ประกอบด้วยหน่วยคำนวณและตรรกะ และหน่วยควบคุม  อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ในการแระมวลผล เรียกว่า ไมโครโพรเซสเซอร์ (Microprocessor) มีลักษณะเป็นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งถูกติดตั้งไว้ในคอมพิวเตอร์
ที่มา  :  http://nutcomputer.blogspot.com/2011/05/cpu_22.html



3. หน่วยความจำ  
      หน่วยความจำจะแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ หน่วยความจำหลัก และหน่วยความจำสำรอง
      >หน่วยความจำหลัก จะแบ่งตามลักษณะการเก็บข้อมูลได้ ดังนี้
         - หน่วยความจำแบบลบเลือนได้ คือ ในกรณีที่ไฟฟ้าดับ ข้อมูลที่ถูกเห็บไว้จะหายหมด  เรียกหน่วยความจำนี้ว่า แรม (Random Access Memory: RAM)
ที่มา  :  http://www.yupadeepai.com/unit034.php


 - หน่วยความจำแบบไม่ลบเลือน คือ หน่วยความจำที่เก็บข้อมูลโดยไม่ขึ้นกับกระแสไฟฟ้า แม้ไฟฟ้าจะดับข้อมูลก็ยังอยู่ เรียกหน่วยความจำนี้ว่า รอม (Read Only Memory: ROM)
ที่มา  :  http://www.yupadeepai.com/unit034.php



>หน่วยความจำสำรอง  ใช้เพื่อให้คอมพิวเตอร์มีที่เก็บข้อมูลได้มากขึ้น ตัวอย่างหน่วยความจำสำรองได้แก่
         - ฮาร์ดดิสก์ (Hard disk) เป็นอุปกรณ์ประเภทจานแม่หล็ก จะแบ่งเป็นวงรอบ เรียกว่า แทรค ซึ่งจะเก็บข้อมูลเป็นวงรอบหลายๆวง ถือได้ว่าฮาร์ดดิสก์เป็นอุปกรณ์หลักในการเก็บรักษาข้อมูลของคอมพิวเตอร์ ซึ่งสามารถจุข้อมูลได้มากและสามาระบันทึกข้อมูลทับได้หลายครั้ง
ที่มา  :  http://tipsyourcom.blogspot.com/2009_05_01_archive.html


 - ยูเอสบีแฟลชไดรว์ (USB Flash Drive) เป็นอุปกรณ์ที่เก็บรักษาข้อมูลไว้ในชิปอิเล็กทรอนิกส์ทำให้มีลักษณะเบา เล็ก สามารถเก็บรักษาได้ง่าย สามารถบันทึกข้อมูลได้หลายครั้ง  มีชื่อเรียกหลากหลายตามลักษณะของเครื่องหมายการค้าของบริษัที่ผลิต เช่น แฮนดี้ไดรว์(Handy Drive)  ทรัมป์ไดรว์(Trumb Drive)  และเพนไดรว์(Pen Drive)
ที่มา  :  http://www.speedcomputer.co.th/



4. หน่วยแสดงผลข้อมูล  ได้แก่
   - จอภาพ (Monitor) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่แสดงผลลัพธ์ในรูปของข้อความ และรูปภาพ จะแสดงผลในขณะท่คอมพิวเตอร์ทำงานอยู่  ซึ่งผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์จะค้นเคยมากที่สุด จะมี 2 ประเภท คือ
         1. จอภาพแบบนูนหรือจอซีอาร์ที (CRT) มีลักษณะเหมือนจอโทรทัศน์
         2. จอภาพแบบแบนกรือจอแอลซีดี (LCD) มีลักษณะบางและแบนกว่าจอแบบนูน มีรูปทรงสวยงามและทันสมัย
จอซีอาร์ที (CRT)                                       จอแอลซีดี (LCD)
ที่มา  :  http://www.9engineer.com



- ลำโพง (Speaker) ทำหน้าที่แสดงผลในรูปแบบของข้อมูลเสียง 
ที่มา  :  http://www.comseven.com



 - เครื่องพิมพ์ (Printer)  ทำหน้าที่แสดงผลข้อมูลในรูปของสิ่งพิมพ์  เครื่องพิมพ์ที่นิยมใช้ปัจจุบันมี 4 ประเภท ได้แก่
         1. เครื่องดอตเมทริกซ์ (Dot Matrix) เป็นเครื่องพิมพ์ประเภทแรกที่นำมาใช้กับคอมพิวเตอร์ มีขนาดใหญ่ เกิดเสียงดังขณะใช้งาน 
เครื่องพิมพ์มีลักษณะเป็นหัวเข็ม (pin) เมื่อต้องการพิมพ์สิ่งใดลงบนกระดาษ หัวเข็มที่อยู่ในตำแหน่งที่ประกอบกันเป็น ข้อมูลดังกล่าวจะยื่นลำหน้าหัวเข็มอื่น เพื่อไปกระแทกผ่านผ้าหมึกลงบนกระดาษ ก็จะทำให้เกิดจุดความคมชัดของข้อมูลบนกระดาษขึ้นอยู่กับจำนวนจุดถ้าจำนวนจุดยิ่งมากข้อมูลที่พิมพ์ลงบนกระดาษก็ยิ่งคมชัดมากขึ้น เครื่องพิมพ์ดอตเมตริกซ์ เหมาะสำหรับงานที่พิมพ์แบบฟอร์มที่ต้องการซ้อนแผ่นก๊อปปี้หลาย ๆ  ชั้น เครื่องพิมพ์ชนิดนี้ใช้กระดาษต่อเนื่องในการพิมพ์ เครื่องพิมพ์ชนิดนี้จะยัง คงมีใช้อยู่ตามองค์กรราชการ
         2. เครื่องพิมพ์แบบพ่นหมึก (Ink-Jet Printer) เครื่องพิมพ์พ่นหมึก สามารถพิมพ์ตัวอักษรที่มีรูปแบบ และขนาดที่แตกต่างกันมากๆ  รวมไปถึง พิมพ์งานกราฟิกที่ให้ผลลัพธ์  คมชัดกว่าเครื่องพิมพ์ดอตแมทริกซ์เทคโนโลยีที่เครื่องพิมพ์พ่นเป็น การพ่นหมึกหยดเล็กๆ ไปที่กระดาษ หยดหมึกจะมีขนาดเล็กมาก แต่ละจุดจะอยู่ในตำแหน่งที่เมื่อประกอบกันแล้วจะเป็นตัวอักษร หรือรูปภาพตามความต้องการการพิมพ์แบบนี้จะพิมพ์แบบซ้อนแผ่นก๊อปปี้ไม่ได้ แต่มีความสามารถพิมพ์ได้รวดเร็วและเสียงไม่ดัง
         3. เครื่องพิมพ์เลเซอร์ (Laser Printer) เครื่องพิมพ์ชนิดนี้อาศัยเทคโนโลยีไฟฟ้าสถิตเบบเดียวกันกับเครื่อง ถ่ายเอกสารทั่วไปโดยลำแสงจากไดโอดเลเซอร์จะฉายไปยังกระจกหมุน เพื่อสะท้อนไปยังลูกกลิ้งไวแสง ซึ่งจะปรับตามสัญญาณภาพหรือตัวอักษรที่ได้รับจากคอมพิวเตอร์ และกวาดตามแนวยาวของลูกกลิ้งอย่างรวดเร็ว สารเคลือบที่อยู่บนลูกกลิ้งจะ  ไปทำปฎิกิริยากับแสงแล้วเปลี่ยนเป็นประจุไฟฟ้าสถิตซึ่งทำให้ผงหมึกเกาะติดกับพื้นที่ที่มีประจุเมื่อกระดาษพิมพ์หมุนผ่านลูกกลิ้ง ความร้อนจะทำให้ผงหมึกหลอมละลาย ติดกับกระดาษได้ภาพหรือตัวอักษร  การพิมพ์ของเครื่องพิมพ์เลเซอร์เสียงจะไม่ดัง 
         4. พล็อตเตอร์ (plotter) พล็อตเตอร์ เป็นเครื่องพิมพ์ชนิดที่ใช้ปากกาในการเขียนข้อมูลต่างๆ ลงบนกระดาษที่ทำมาเฉพาะงานเหมาะสำหรับงานเกี่ยวกับการเขียนแบบทางวิศวกรรม และงานตกแต่งภายใน ใช้สำหรับวิศวกรรมและสถาปนิก พล็อตเตอร์ทำงานโดยใช้วิธีเลื่อนกระดาษ

เครื่องพิมพ์ดอตเมตริกซ์                                          เครื่องพิมพ์แบบพ่นหมึก         
       
เครื่องพิมพ์เลเซอร์                                                       พล็อตเตอร์ 
ที่มา  :  http://www.asis.co.th/printer/




       




เฉลยแบบทดสอบ
1 ตอบ ง. 
ตอบ  ง. 
ตอบ ง. 
ตอบ ก
ตอบ ข
ตอบ ก
ตอบ ค
ตอบ ง 
ตอบ ข
10 ตอบ ข
11 ตอบ ก
12 ตอบ ก
13 ตอบ ก
14 ตอบ ง
15 ตอบ ข


วันพุธที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2557

หน่วยที่ 11 แนวทางการประกอบธุรกิจ
สาระสำคัญ
          ในบทนี้จะกล่าวถึงแนวทางการประกอบธุรกิจทางด้านคอมพิวเตอร์และด้านอื่นๆ เช่น การวางแผนทางการตลาด การขาย แหล่งที่มาของเงินทุน คุณสมบัติของผู้ประกอบธุรกิจ ปัญหาในการดำเนินการต่างๆ เป็นต้น

เรื่องที่จะศึกษา
  • ความหมายของธุรกิจด้านคอมพิวเตอร์
  • แนวทางการตลาด
  • การวางแผนการตลาด
  • แผนการขาย
  • แหล่งที่มาของเงินทุน
  • คุณสมบัติของผู้ประกอบการธุรกิจขนาดย่อม
  • ปัญหาในการดำเนินธุรกิจขนาดย่อม
  • การเลือกประกอบอาชีพอิสระ
  • คุณสมบัติของผู้ประกอบอาชีพอิสระ
  • ปัญหาและข้อแนะนำในการประกอบธุรกิจ

จุดประสงค์การเรียนรู้
  1. บอกความหมายของธุรกิจด้านคอมพิวเตอร์ได้
  2. เขียนแนวคิดทางการตลาดได้
  3. วางแผนการตลาดได้
  4. วางแผนการขายได้
  5. หาแหล่งที่มาของเงินทุนได้
  6. เขียนคุณสมบัติของผู้ประกอบการธุรกิจขนาดย่อมได้
  7. เขียนปัญหาในการดำเนินธุรกิจขนาดย่อมได้
  8. เลือกประกอบอาชีพอิสระตามที่ตัวเองชอบได้
  9. เขียนคุณสมบัติของผู้ประกอบอาชีพอิสระได้
  10. เขียนปัญหาและแนะนำผู้อื่นในการประกอบธุรกิจได้


ความหมายของธุรกิจด้านคอมพิวเตอร์
 
          การดำเนินชีวิตของมนุษย์ในสมัยโบราณ มีความแตกต่างกับการดำเนินชีวิตของมนุษย์ในปัจุบันเนื่องจากจำนวนประชากรของมนุษย์ในสมัยโบราณมีจำนวนน้อย แต่ละคนและแต่ละครอบครัวจะดำรงชีวิตอยู่ด้วยตนเองตามลำพัง โดยสร้างที่พักอาศัย ทำเครื่องนุ่งห่ม เพาะปลูกพืช และล่าสัตว์เพื่อเลี้ยงชีพของตนเองตามความสามารถของแต่ละคน เมื่อสังคมของมนุษย์ขยายขึ้น และความถนัดของมนุษย์มีไม่เหมือนกัน บางคนถนัดในการล่าสัตว์ บางคนถนัดในการเพาะปลูก บางคนถนัดในการทำเครื่องนุ่งห่ม จึงเกิดระบบการแลกเปลี่ยน โดยการใช้ของแลกของ (Barter System) กันขึ้น เช่น นำข้าวแลกเนื้อสัตว์นำไข่แลกเสื้อผ้า เป็นต้น แต่การนำของแลกของก็มีปัญหาบางอย่างเกิดขึ้น เพราะสิ่งของบางอย่างแบ่งแยกได้ยาก เช่น ข้าว 3 ถังแลกวัวได้ 1 ตัว แต่ถ้าคนที่มีข้าว 1 ถังต้องการแลกกับวัว 1 ตัวไม่ได้ ต้องมีการแบ่งแยกวัวซึ่งทำได้ยาก หรือบางครั้งความต้องการของคนที่นำมาแลกไม่ตรงกัน เช่น คนที่มีไข่ต้องการแลกกับเสื้อผ้า แต่คนที่มีเสื้อผ้าต้องการข้าวเป็นต้น ดังนั้นระบบการแลกเปลี่ยนของต่อของจึงเปลี่ยนไป โดยใช้สื่อกลางในการแลกเปลี่ยน สิ่งที่แต่ละยุคนำมาใช้เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนขึ้นอยู่กับความพอใจของคนในแต่ละยุคนั้น เช่น เปลือกหอย ทองคำ ฯลฯ ซึ่งได้มีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้เป็นจุดเริ่มต้นของธุรกิจนั่นเอง จากความเป็นมาของการดำเนินชีวิตดังกล่าวสามารถสรุปความหมายของธุรกิจได้ดังนี้             
          ธุรกิจ (Business) หมายถึง กิจกรรมต่าง ๆ ที่ก่อให้เกิดการผลิตสินค้าและบริการโดยมีการซื้อขายแลกเปลี่ยนกัน และมีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการประโยชน์หรือกำไรจากการกระทำกิจกรรมนั้น



แนวทางการตลาด

            ปัจจุบันเทคโนโลยีได้เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วที่เรียกกันว่ายุคนี้ คือ ยุคดิจิตอล ระบบการตลาดก็เช่นเดียวกัน ผลจากเทคโนโลยีทำให้ระบบการตลาดเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์มีความเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่อง ทำให้การตลาดต้องปรับตัวให้ทัน กับระบบการค้า บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเสนอแนวคิดทางการตลาดอิเล็กทรอนิกส์ที่เรียกว่า Electronic Marketing หรือ E-Marketing เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจความแตกต่างระหว่างการตลาดแบบ ดั้งเดิม (Traditional Marketing) กับการตลาดแบบอิเล็กทรอนิกส์ทั้งทางด้านแนวคิด ลูกค้า สินค้าและบริการ  และกลยุทธ์การตลาดที่สำคัญ


การวางแผนการตลาด
          ถ้าท่านคิดจะทำธุรกิจ สิ่งที่จำเป็นประการแรก และ เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดในการประกอบธุรกิจ หรือ กิจกรรมใดๆ ก็แล้ว ก็คือ กิจกรรมทางด้านการตลาด ทุกๆ วัน ท่านควรจะแบ่งเวลาให้กับกิจกรรมทางด้านการตลาด อย่างน้อยวันละ ๒ - ๓ ชั่วโมง แต่ก่อนที่ท่านจะเริ่มดำเนินกิจกรรมทางการตลาด สิ่งแรกที่ท่านจะต้องทำให้เสร็จก่อนก็คือ การวางแผนการตลาด การเขียนแผนการตลาดจะทำให้ท่านมองเห็นภาพที่ชัดเจนว่า ท่านจะจัดการเป้าหมายของงานทางด้านการตลาดของท่านอย่างไร เพื่อให้เป็นการง่ายต่อการเขียนแผนการตลาด แนวทางต่อไปนี้ จะช่วยสร้างความเข้าใจแก่ท่าน แนวทางเหล่านี้ จะเริ่มต้นตั้งแต่ การวิจัย หรือ สำรวจทางการตลาด จนถึงขั้นนำข้อมูลเหล่านั้นมาเขียนเป็นแผนการตลาด แนวทางในการเขียนแผนการตลาดประกอบไปด้วยส่วนต่างๆ สามส่วน ดังต่อไปนี้

ส่วนที่ 1 คำแนะนำเบื้องต้น
·        ประโยชน์ของแผนการตลาด
ส่วนที่ 2 การวิจัยทางด้านการตลาด
·        การวิจัยขั้นปฐมภูมิ (การวิจัยจากข้อมูลเบื้องต้นที่มีอยู่)
·        การวิจัยขั้นทุติยภูมิ (การวิจัยจากการหาข้อมูลเพิ่มเติม)
ส่วนที่ 3 ส่วนผสมของแผนการตลาด
·        เตรียมการเขียนแผนการตลาด
·        สถานการณ์ทางด้านการตลาด
·        ผลกระทบในเชิงลบ และ แนวโน้มในเชิงบวก
·        จุดประสงค์ทางด้านการตลาด
·        เป้าหมายทางด้านการตลาด
·        รายละเอียดของเป้าหมายทางด้านการตลาด
·        งบประมาณทางด้านการตลาด
·        การติดตามผลความก้าวหน้า

·        บทสรุปผู้บริหาร


แผนการขาย

การวางแผน (planning) เป็นภาระกิจขั้นแรกของทุกกระบวนการ เป็นนักขายก็ควรเขียนแผนการขายไว้ล่วงหน้าได้เหมือนกันซึ่งหากแผนที่วางไว้เหมาะสมมีเหตุผลเป็นไปได้ การขายก็จะดำเนินไปอย่างราบรื่นบรรลุวัตถุประสงค์ กระบวนการวางแผนมี 5 ขั้นตอน ได้แก่ การเตรียมการก่อนการวางแผน การวิเคราะห์ปัญหา การกำหนดแผนงานขาย การปฏิบัติตามแผน และการประเมินเมื่อตกลงจะมีการวางแผนงานแล้ว สิ่งสำคัญที่สุดที่จะต้องพิจารณาคือจัดหาข้อมูลมาให้ได้บริบูรณ์ ข้อมูลที่ต้องการคือรายละเอียดเกี่ยวกับปัจจัยทั้งหลาย และต้องเป็นข้อมูลที่น่าเชื่อถือในกรณีขององค์การธุรกิจ การคาดคะเนการขาย (sales forecasting) เป็นข้อมูลพื้นฐานที่จะนำไปสู่การวางแผนขององค์การธุรกิจเป็นที่ทราบกันทั่วไปว่าธุรกิจอยู่ได้ด้วยการมีกำไร กำไรได้มาจากการจำหน่ายซึ่งสามารถจำหน่ายได้สูงกว่าต้นทุน ดังนั้นการจำหน่ายจึงเป็นจุดเริ่มต้นของการวางแผนธุรกิจ ถ้าธุรกิจคาดคะเนว่าจะจำหน่ายได้สูงกว่าปีที่แล้วมา หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ ฝ่ายผลิต จะต้องปรับปรุงวางแผนการผลิตเพิ่มขึ้น ฝ่ายการเงิน จะต้องเตรียมจัดหาเงินมาลงทุนในการจัดซื้อและการเพิ่มค่าใช้จ่ายในการผลิต ฝ่ายการตลาด จะต้องเตรียมผู้คนและวงเงินค่าใช้จ่ายในการจัดจำหน่ายซึ่งจะต้องเพิ่มขึ้นตามอัตราส่วนเพิ่มของสินค้าที่จะจำหน่าย เป็นต้น

แหล่งที่มาของเงินทุน

บ่อยครั้งที่คำว่า ไม่มีเงินถูกใช้เป็นข้ออ้างที่สกัดการเริ่มต้นทำธุรกิจเป็นของตัวเอง เป็นต้นว่าไม่มีทุนบ้าง ไม่มีแหล่งทุนบ้าง และทำให้หลายคนเลือกพับเก็บความคิดที่จะเริ่มต้นธุรกิจเอาไว้ แต่ในความจริงแล้วธุรกิจหลายรูปแบบใช้เงินทุนในการเริ่มตั้งกิจการไม่มากเลย โดยจุดสำคัญในการเริ่มต้นธุรกิจน่าจะอยู่ที่การสร้างผลิตภัณฑ์ที่ดีและตรงความต้องการของลูกค้า มีแนวทางการบริหารและการตลาดที่แข็งแรงขึ้นมาให้ได้ก่อน หลังจากที่เริ่มมีโมเดลธุรกิจที่ชัดเจนและมีจุดเด่นน่าสนใจแล้วการจะออกไปหาเงินทุนเพิ่มเติมเพื่อต่อยอดให้ธุรกิจเติบโตต่อเนื่องก็น่าจะเป็นเรื่องง่ายขึ้นและการทำธุรกิจก็เป็นเรื่องที่เป็นไปได้สูงขึ้น
เมื่อผ่านจุดตั้งต้นธุรกิจมาได้แล้ว จึงถึงเวลาเริ่มมองหาทุนเพื่อขยายกิจการและเร่งการผลิตให้ทันต่อการแข่งขันในตลาด แต่ด้วยความที่ธุรกิจยังอยู่ในจุดเริ่มต้น ยังไม่เป็นที่รู้จัก จึงเป็นเรื่องที่ยากมากที่จะระดมทุนด้วยการยื่นเสนอขายหุ้นในตลาด อย่างไรก็ดี ยังมีแหล่งทุนอื่นๆ ที่เข้าถึงได้และสามารถช่วยธุรกิจขนาดกลางและย่อมที่เพิ่มเริ่มต้นอยู่พอสมควร ตั้งแต่คนใกล้ตัวที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับเราเช่นคุณพ่อคุณแม่ หรือแหล่งเงินทุนที่เป็นองค์กรอย่างธนาคารและนักลงทุน
ธนาคารพาณิชย์ถือเป็นแหล่งเงินทุนอันดับต้นๆ ที่เรามักนึกถึง เนื่องจากพบได้ทั่วไปและมีโปรโมชั่นออกมาเป็นจำนวนมาก แต่การขอสินเชื่อจากธนาคารก็ไม่ใช่เรื่องง่ายเสียทีเดียว เพราะธนาคารก็จะต้องพิจารณาความน่าเชื่อถือและโอกาสในการเติบโตของธุรกิจก่อนจึงจะอนุมัติให้สินเชื่อ โดยแผนส่วนใหญ่จะกำหนดคุณสมบัติของผู้กู้ต้องมีประสบการณ์ในด้านธุรกิจที่เกี่ยวข้องมาแล้ว 1-3 ปี ซึ่งน่าจะเป็นหลักประกันว่าผู้ประกอบการรู้จักธุรกิจนั้นๆ ดีในระดับหนึ่ง อีกทั้งหลายธนาคารก็มีข้อบังคับว่าผู้ประกอบการจะต้องนำเสนอแผนธุรกิจที่ชัดเจนและเป็นไปได้ก่อนการขออนุมัติสินเชื่อด้วย ดังนั้นการกู้ผ่านธนาคารอาจเหมาะกับเจ้าของกิจการที่ดำเนินงานมาสักระยะเกิน 1 ปีขึ้นไป ซึ่งจุดประสงค์ของการให้สินเชื่อก็เพื่อเพิ่มความคล่องตัวของเงินทุนหมุนเวียนและเพื่อการขยายตัวของกิจการ
เมื่อเราตัดสินใจจะกู้เงินจากธนาคารแล้ว เราต้องศึกษาในรายละเอียดว่าในแต่ละแผนกำหนดให้ต้องเตรียมนำเสนออะไรบ้าง อาทิ คนค้ำประกัน หรือเครื่องค้ำประกันอื่นๆ เช่น สิ่งปลูกสร้าง สัญญาเช่าอาคาร แผนพัฒนาธุรกิจ เป็นต้น และธนาคารส่วนใหญ่มักขอดูเอกสารสำคัญของบริษัท เช่น หนังสือรับรองการจดทะเบียนบริษัท เอกสารภาษี ซึ่งการเตรียมการให้พร้อมก็เป็นสิ่งสำคัญในการสร้างความเชื่อมั่นให้ธนาคารอีกทางหนึ่ง
ธนาคารได้ผนวกบทบาทเป็นผู้ให้องค์ความรู้แก่
ผู้ประกอบการ ประคองให้กิจการเดินหน้าไปได้ รวมทั้งสร้างเครือข่ายธุรกิจ
นอกเหนือจากบทบาทแหล่งเงินทุนสินเชื่อแล้ว ช่วงหลังๆ ธนาคารต่างๆ ก็เริ่มเข้ามามีบทบาทในการช่วยสนับสนุนช่วงเริ่มต้นและช่วงการเติบโตอย่างแข็งแกร่งของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมมากขึ้น โดยธนาคารได้ผนวกบทบาทเป็นองค์กรให้องค์ความรู้ผู้ประกอบการ ประคับประคองให้กิจการเดินหน้าไปได้ รวมทั้งสร้างเครือข่ายธุรกิจ อย่างเช่นโครงการ K SME Care ของธนาคารกสิกรไทย ซึ่งให้เจ้าของกิจการไม่ว่าจะเป็นลูกค้าของธนาคารหรือไม่สามารถเข้าร่วมโครงการเพื่อเข้าอบรม รวมทั้งเพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์และมุมมองทางธุรกิจกับเครือข่ายผู้ประกอบการรายอื่นๆ ด้วย
สิ่งที่นักลงทุนจะได้รับจากการลงทุนในธุรกิจหนึ่ง
ขึ้นอยู่กับการเติบโตและ
ผลประกอบการของบริษัทเป็นหลัก ทำให้นักลงทุนมักจะเป็นผู้ให้ความรู้และแนวทางในการดำเนินธุรกิจ หรือบางรายอาจส่งคนจากทีมเข้ามาบริหารงาน
สำหรับแหล่งทุนจากนักลงทุนจะมีวัตถุประสงค์การให้ทุนที่ต่างจากธนาคาร กล่าวคือธนาคารจะได้ประโยชน์จากการให้สินเชื่อโดยเก็บดอกเบี้ยจากผู้ขอสินเชื่อเป็นงวดๆ ไป ในขณะที่นักลงทุนจะมุ่งหวังการครอบครองหุ้นหรือกรรมสิทธิ์ในบริษัท นั่นหมายความว่าสิ่งที่นักลงทุนจะได้รับจากการลงทุนในสักธุรกิจหนึ่งจึงต้องขึ้นอยู่กับการเติบโตและผลประกอบการของบริษัทเป็นหลัก ทำให้นักลงทุนมีอีกลักษณะที่แตกต่างจากธนาคาร คือมักจะเป็นผู้ให้ความรู้และแนวทางในการดำเนินธุรกิจ หรือบางรายอาจส่งคนจากทีมเข้ามาบริหารงานในธุรกิจ
โดยหลักๆ แล้วมีนักลงทุนอยู่ไม่กี่ประเภท ประเภทแรกคือนักลงทุนรายบุคคล หรือที่เรียกว่า angel investor และนักลงทุนระดับองค์กร venture capitals หรือที่เรียกกันบ่อยๆ ว่า VC ซึ่งที่จริงแล้วนักลงทุนทั้งสองประเภทนี้เป็นที่นิยมในบรรดาธุรกิจ startup ต่างประเทศเสียมาก และยังไม่ค่อยมีนักลงทุนประเภทนี้ในประเทศไทยมากนัก
angel investor สามารถเป็นใครก็ได้ ส่วนใหญ่มักเป็นนักลงทุนรายบุคคลทั่วไปที่มีความสนใจในเรื่องต่างๆ แตกต่างกันไป
สำหรับนักลงทุนประเภทนี้เป็นนักลงทุนอิสระที่สามารถให้ทุนเราได้โดยทันที ไม่ต้องมีแบบแผนในการยื่นขอทุนมากมาย เนื่องจากเป็นการติดต่อกับตัวบุคคลโดยตรงและทุนที่ให้ก็มักเป็นเงินทุนส่วนตัว การตัดสินใจให้ทุนก็มักอาศัยความเชื่อมั่นระหว่างกันเสียมาก ขณะเดียวกัน angel investor ก็มักจะเน้นน้ำหนักให้ความสำคัญกับแนวคิดธุรกิจที่น่าสนใจมากกว่าที่จะเน้นเรื่องผลตอบแทนในการลงทุน แต่ก็ใช่ว่าจะไม่สนใจเรื่องผลตอบแทนเลย อันที่จริง angel investor ก็อาจขอผลตอบแทนเป็นสิทธิ์ในการถือหุ้น ส่วนเรื่องการบริหารงานในธุรกิจ angel investor มักจะไม่ค่อยเข้ามาก้าวก่ายการบริหารงานมากนัก มักจะปล่อยให้เจ้าของไอเดียเป็นคนบริหารให้ธุรกิจเดินหน้าไปได้ แต่มักจะเข้ามามีบทบาทเป็นผู้ให้คำปรึกษาและคำแนะนำมากกว่า
angel investor สามารถเป็นใครก็ได้ ส่วนใหญ่มักเป็นนักลงทุนรายบุคคลทั่วไปที่มีความสนใจในเรื่องต่างๆ แตกต่างกันไป นอกจากจะให้ทุนแล้ว angel investor ยังสามารถให้ความช่วยเหลือด้านอื่นๆ เช่นให้ความรู้ สอนประสบการณ์ที่เคยผ่านมา ยิ่งไปกว่านั้นยังอาจช่วยแนะนำให้เราได้รู้จักบุคคลอื่นๆ ที่เป็นสามารถเป็นแหล่งทุนให้เราได้อีกด้วย
VC เป็นนักลงทุนในรูปแบบองค์กร หรืออาจเรียกว่าเป็นองค์กรที่ประกอบขึ้นมาจากนักลงทุนหลายๆ คนรวมตัวกัน มีการรวมเงินลงทุนเป็นก้อนเดียวและบริหารจัดการว่าจะนำเงินลงทุนก้อนใหญ่นั้นไปแบ่งลงทุนกับธุรกิจที่มีแนวโน้มเติบโตสูงอย่างไรบ้าง จึงอาจกล่าวได้ว่า VC อาจพิจารณาให้เงินทุนในจำนวนที่สูงกว่า angel investor ส่วนใหญ่ และเหมาะสำหรับกิจการที่ต้องการเงินก้อนใหญ่
โดยหลักๆ VC จะมุ่งหวังกำไรจากการลงทุนอย่างมาก และมองข้ามขั้นไปจนถึงว่าสามารถขายต่อกิจการของเราเพื่อเก็งกำไรในตลาดหุ้นได้
โดยหลักๆ VC จะมุ่งหวังกำไรจากการลงทุนอย่างมาก และมองข้ามขั้นไปจนถึงว่าสามารถขายต่อกิจการของเราเพื่อเก็งกำไรในตลาดหุ้นได้ ด้วยเหตุนี้ VC จึงมักส่งคนเข้ามาบริหารกิจการ เพื่อกำกับดูแลให้ธุรกิจของเราเติบโตได้ตามคาดหวัง รวมทั้งช่วยให้ความรู้และคำปรึกษาในเรื่องการบริหารธุรกิจด้วย สำหรับระดับการลงทุนของ VC มีตั้งแต่ขั้นเริ่มต้นธุรกิจ ขั้นขยายกิจการ ระยะก่อนการเสนอขายหุ้นแก่สาธารณะชนเป็นครั้งแรก (IPO) หรือแม้แต่ระยะพลิกฟื้นธุรกิจ
อย่างไรก็ตาม ด้วยเหตุที่ว่า VC ให้ความสำคัญเกี่ยวกับกำไร และธรรมชาติของกลุ่มที่ประกอบด้วยนักลงทุนหลายคน การตัดสินใจก่อนอนุมัติให้ทุนจึงใช้เวลาและความรอบคอบอย่างมาก เพื่อให้แน่ใจว่าหากให้ทุนไปแล้วจะไม่สูญเปล่าและได้ผลตอบแทนกลับมาเต็มที่ ดังนั้นการขอทุนจาก VC จึงต้องมีเตรียมตัวนำเสนอธุรกิจอย่างมีระบบแบบแผนที่ชัดเจนและน่าสนใจ ต้องเตรียมเอกสารที่เป็นลายลักษณ์อักษร และที่สำคัญที่สุดคือต้องสามารถอธิบายขั้นตอนและแบบแผนการทำธุรกิจได้อย่างสร้างสรรค์และมีหลักการ จนนักลงทุนกลุ่มนี้สามารถมองเห็นโอกาสที่ชัดเจน และตกลงปลงใจที่จะให้เงินเราในท้ายที่สุด
แต่ทั้งนี้ไม่ว่าจะหาทุนด้วยการขอสินเชื่อธนาคารหรือขอทุนจากนักลงทุน หรือแม้แต่จากคนรู้จักที่มีความหวังดีต่อเราก็ตาม สิ่งที่เราควรทำคือต้องรักษามารยาทในการดำเนินการขอความช่วยเหลือ ตั้งแต่นำเสนอโครงการอย่างตั้งใจและมุ่งมั่น ยินดีตอบข้อซักถาม ต้องประเมินสถานการณ์อย่างเป็นกลางและรับฟังสิ่งที่ผู้อื่นพูดอย่างตั้งใจเสมอ รวมทั้งเปิดโอกาสให้ผู้ร่วมลงทุนมีส่วนแสดงความคิดเห็นด้วย สิ่งเหล่านี้เป็นพื้นฐานของความสำเร็จในการหาทุนและการทำธุรกิจด้วย

คุณสมบัติของผู้ประกอบธุรกิจขนาดย่อม

บุคคลที่มีความสนใจ  และเตรียมตัวเข้าสู่ธุรกิจขนาดย่อม  ต้องมีคุณสมบัติของนักธุรกิจที่ดี คือ
      1.  มีความรู้และประสบการณ์เกี่ยวกับงานอาชีพ  จากการศึกษาเล่าเรียนและการทำงานจะทำให้มีความรู้และประสบการณ์พื้นฐาน  สามารถนำมาประยุกต์กับธุรกิจของตนเองได้
      2.  มีความพร้อมที่จะทำงานหนัก  มีความอดทน
      3.  มีมนุษยสัมพันธ์ มีอัธยาศัยที่ดีกับบุคคลทั่วไป
      4.  สื่อสารกับบุคคลอื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ
      5.  มีภาวะผู้นำ
      6.  มีความภาคภูมิใจในผลงาน
      7.  มีความรับผิดชอบ
      8.  กล้าเสี่ยงและกล้าตัดสินใจ
      สรุปคุณสมบัติของผู้ประกอบการที่ต้องการความสำเร็จ  คือ  มีความพร้อมด้านจิตใจ  ความรู้ความสามารถ มีมนุษยสัมพันธ์  ความสามารถในการติดต่อสื่อสาร  และความสามารถในการบริหารจัดการ

ปัญหาในการดำเนินธุรกิจขนาดย่อม

1.  ปัญหาด้านการจัดการ ผู้ประกอบธุรกิจขนาดย่อมส่วนใหญ่ขาดประสบการณ์และขาดทักษะในการจัดการ  เนื่องจากธุรกิจขนาดย่อมเป็นกิจการของตนเอง  จึงจำเป็นต้องมีความรู้ความสามารถในทุก ๆ ด้าน  เช่น  ความเป็นผู้นำ  รู้จักการวางแผนที่ดี  การนำเสนอขายและให้บริการลูกค้า  เป็นต้น
     2.  ปัญหาด้านการเงิน การประกอบธุรกิจขนาดย่อม  ผู้ประกอบการ  คือ  เจ้าของกิจการการควบคุมด้านการเงินไม่มีมาตรการที่ดีพอ  ก่อให้เกิดการขาดแคลนเงินทุน  มีการรั่วไหลของการใช้จ่ายทำให้ธุรกิจขาดสภาพคล่องจึงทำให้ธุรกิจล้มเหลวได้ง่าย

การเลือกประกอบอาชีพอิสระ

          การประกอบอาชีพอิสระ คือ การประกอบกิจการส่วนตัวต่าง ๆ ในการผลิตสินค้าหรือบริการที่ถูกต้องตามกฎหมาย เป็นธุรกิจของตนเองไม่ว่าธุรกิจนั้นจะเล็กหรือใหญ่ก็ตาม  ซึ่งผู้ประกอบการสามารถที่จะกำหนดรูปแบบและวิธีดำเนินงานของตัวเองได้ตามความเหมาะสม ไม่มีเงินเดือนหรือมีรายได้ที่แน่นอนตายตัว ผลตอบแทนคือเงินกำไรจากการลงทุนนั่นเอง

การประกอบอาชีพอิสระดีอย่างไร
          ปัจจุบัน แม้ว่าการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศจะเพิ่มสูงขึ้น โครงการต่าง ๆ เกิดขึ้นหลายโครงการ ทำให้มีตำแหน่งงานว่างเป็นจำนวนมาก แต่ก็ยังไม่สามารถรองรับกำลังแรงงานซึ่งเพิ่มขึ้นในแต่ละปีได้ อีกทั้งการเป็นลูกจ้าง ข้าราชการและพนักงานในหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน ส่วนใหญ่ต้องเป็นผู้ที่มีคุณสมบัติที่หน่วยงานนั้น ๆ ต้องการ เช่น คุณวุฒิทางการศึกษา ประสบการณ์หรือแรงงานที่มีทักษะ เป็นต้น คุณสมบัติเหล่านี้ได้กลายมาเป็นข้อจำกัดที่ปิดกั้นโอกาสของคนอีกหลายกลุ่มไม่ให้สามารถเข้าสู่ตลาดแรงงานได้ โดยเฉพาะภาครัฐได้กำหนดอัตราการเพิ่มของข้าราชการไว้เพียง 2% นั่นย่อมหมายถึงโอกาสในการเป็นข้าราชการน้อยมาก ดังนั้น
          การประกอบอาชีพอิสระจึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับผู้ว่างงาน แรงงานที่กลับจากการทำงานต่างประเทศ เยาวชนที่เข้าสู่ตลาดแรงงานใหม่ กลุ่มคนด้อยโอกาสต่าง ๆ ควรจะหันมาสนใจประกอบอาชีพอิสระ ซึ่งเป็นการประกอบอาชีพส่วนตัว บริหารด้วยตนเอง เป็นทั้งเจ้านายและลูกน้องในขณะเดียวกัน และการมีกำไรหรือขาดทุนขึ้นอยู่กับการบริหารของตนเอง นอกจากนี้ การประกอบอาชีพอิสระยังไม่มีข้อจำกัด ด้านคุณวุฒิการศึกษา หากแต่เป็นการเปิดโอกาสให้กับทุกคนสามารถประกอบอาชีพได้ตามความสามารถและความสนใจของตนเอง
ผลดีของการเป็นผู้ประกอบอาชีพอิสระคือ
          1. เป็นเจ้านายตนเอง สามารถใช้ความรู้ ความสามารถที่ตนเองถนัดได้อย่างเต็มที่
          2.กำหนดการทำงานเอง สามารถกำหนดรูปแบบและวิธีการดำเนินงานของตนเองได้ตามความเหมาะสมของธุรกิจ
         3. รับผิดชอบกิจการเองทั้งหมด
         4. ตัดสินใจเอง มีอิสระในการตัดสินใจในเรื่องต่าง ๆ อย่างเต็มที่ เพราะเป็นเจ้าของเงินทุน
         5.เป็นอิสระ ไม่ต้องเป็นลูกจ้างใคร ไม่ต้องรับคำสั่งจากใคร จะทำอะไร ที่ไหน เมื่อไร เวลาใด สามารถกำหนดเองได้ทั้งสิ้น รวมทั้งความเป็นอิสระด้านความคิดสร้างสรรค์ได้อีกด้วย
         6. รายได้ไม่จำกัด ผลตอบแทนจากการดำเนินกิจการคือเงินกำไร
ซึ่งหากกิจการประสบผลสำเร็จ กำไรย่อมมากตามไปด้วย และถ้าธุรกิจนั้นมี
เจ้าของเพียงคนเดียว กำไรก็ไม่ต้องแบ่งกับใคร


คุณสมบัติของการเป็นผู้ประกอบอาชีพอิสระ

           การเป็นผู้ประกอบอาชีพอิสระจำเป็นจะต้องมีคุณสมบัติต่างๆ เพื่อประกอบการเป็นผู้ประกอบอาชีพอิสระอย่างมีอิสระอย่างมีคุณภาพ ได้แก่
กล้าเสี่ยง (Taking risk) การประกอบอาชีพอิสระ แตกต่างจากการเป็นลูกจ้าง เนื่องจากต้องมีการลงทุน ในขณะที่เป็นลูกจ้างไม่ต้องลงทุนอะไร การลงทุนนั้นเป็นการเสี่ยงอย่างหนึ่ง ซึ่งไม่รู้ว่าสิ่งที่เราลงทุนนั้นจะได้กำไรหรือขาดทุน แต่ในความเสี่ยงนั้น ผู้ประกอบอาชีพอิสระจะต้องไตร่ตรองให้รอบคอบและมีเหตุผลก่อนที่จะลงทุน รวมทั้งมีจิตใจอยากเป็นผู้ชนะเสมอ
มีความคิดสร้างสรรค์ (Taking initiative) การประกอบอาชีพอิสระมิได้ยึดติดกับรูปแบบใด ๆ เนื่องจาก
ผู้ประกอบอาชีพอิสระต้องเป็นนายของตนเอง ดังนั้น ในการปรับปรุงสินค้าหรือบริการสามารถทำได้อย่างมีอิสระ เพื่อให้ได้มาซึ่งกำไรในการดำเนินธุรกิจ
มีความเชื่อมั่นในตนเอง ผู้ประกอบอาชีพอิสระ จะต้องเป็นผู้ที่มีความเชื่อมั่นในตนเอง (Self - Confidence) ในการดำเนินกิจการของตนเอง จะรอให้ใครมาช่วยเหลืออยู่ตลอดเวลาย่อมเป็นไปไม่ได้
อดทน (Persistence and dealing with failure) การดำเนินธุรกิจของตนเองย่อมมีทั้งกำไรและขาดทุน โดยเฉพาะขั้นแรกจะต้องประสบปัญหาและอุปสรรคบ้าง ซึ่งถือได้ว่าเป็นเรื่องธรรมดา จะต้องเป็นผู้กล้ารับผิดและถูกในเวลาเดียวกัน และพร้อมที่จะยอมรับข้อผิดพลาด และแก้ไขข้อผิดพลาดด้วยตัวเองเสมอ หากพร้อมที่จะต่อสู้ปัญหาเหล่านั้น จุดหมายที่ตั้งไว้ก็จะประสบผลสำเร็จในที่สุด
มีวินัยในตนเอง (Having discipline) การประสบความสำเร็จในอาชีพซึ่งเราเป็นเจ้าของกิจการเอง จำเป็นต้องมีวินัย มีกฎระเบียบ การทำงนต้องทำสม่ำเสมอ มิเช่นนั้นความสำเร็จในอาชีพอาจจะไม่ประสบผลสำเร็จเลย
มีทัศนคติที่ดีต่ออาชีพ (Good attitude) ไม่ว่างานนั้นจะเป็นงานที่มีเกียรติหรือไม่ ผู้ประกอบอาชีพอิสระจะต้องรักในงานที่ทำ และให้เกียรติกับงานนั้น ๆ เสมอ)
มีความรอบรู้ (Seeking information) การประกอบอาชีพอิสระ จะต้องรับรู้ข่าวสารอยู่เสมอ เพื่อปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก ซึ่งเปลี่ยนแปลงไปเร็วมาก ประโยชน์ของการรับรู้ข่าวสารจะทำให้สามารถปรับปรุงธุรกิจของตนเองให้ทันสมัยอยู่ตลอดเวลา ผลที่ได้คือกำไรนั่นเอง
มีมนุษย์สัมพันธ์ (Good human relationship) การประกอบอาชีพอิสระ จะต้องเป็นผู้มีมนุษย์สัมพันธ์อันดี เพื่อผลประโยชน์ในธุรกิจของตนเอง ไม่ว่าจะเป็นลูกค้า บุคคลรอบข้าง หรือคู่แข่งก็ตาม เพราะการมีมนุษย์สัมพันธ์อันดี จะทำให้มีความคล่องตัวในการดำเนินงานเป็นอย่างยิ่ง
มีความซื่อสัตย์ (Honesty with customer) ผู้ประกอบอาชีพอิสระ จะต้องมีความซื่อสัตย์และจริงใจต่อลูกค้า การบริการลูกค้าให้เกิดความประทับใจในการขายสินค้าหรือบริการและกลับมาใช้บริการอีกเป็นหัวใจสูงสุด เพื่อผลประโยชน์ต่อธุรกิจและต่อตัวเองในที่สุด


ปัญหาและข้อแนะนำในการประกอบธุรกิจ


การแก้ไข: 
          การวางแผนที่ดีนั้นจะช่วยให้ธุรกิจของเราสามารถควบคุมอนาคตของบริษัทได้ และถ้าดำเนินตามแผนที่ตั้งไว้ต่อไปเรื่อยๆ ก็จะพาเราไปสู่จุดหมายและความสำเร็จได้ไม่ยาก และนี่คือ 6 คำแนะนำที่จะช่วยให้เราวางแผนธุรกิจได้ง่ายขึ้น
  • มีการประเมินสภาพธุรกิจอยู่บ่อยๆ ว่าตอนนี้ได้กำไร ขาดทุน หรือมีสภาพคล่องทางการเงินเป็นอย่างไรบ้าง
  • ให้ความสำคัญกับการทำ SWOT: Strength (จุดแข็ง), Weakness (จุดอ่อน), Opportunity (โอกาส), Threat (ความเสี่ยง)
  • มีการกำหนดเป้าหมายของการทำธุรกิจให้แน่ชัด และต้องนำมาวิเคราะห์ใหม่อยู่ตลอด ถ้าเกิดการเปลี่ยนแปลงอะไร
  • เริ่มต้นจากการวาดภาพรวมคร่าวๆ ในหัวตั้งแต่ต้นจนจบว่าธุรกิจเราจะดำเนินไปในทางใด ก่อนที่จะลงรายละเอียดในเวลาต่อมา
  • ควรกำหนดเป้าหมายย่อยๆ ไว้ระหว่างดำเนินไปถึงเป้าหมายใหญ่ เพื่อที่จะสามารถวัดได้ว่าตอนนี้เรามาได้กี่เปอร์เซ็นแล้ว และมีอะไรที่ยังต้องปรับปรุงอยู่บ้าง
  • วางแผนต่อๆ ไป และพยายามทำให้ได้ตามแผนนั้น
เฉลยแบบทดสอบ
1ตอบ ก
2ตอบ ข
3ตอบ ก
4ตอบ ค
5ตอบ ค
6ตอบ ก 
7ตอบ ง
8ตอบ ข
9ตอบ ง
10ตอบ ข
11ตอบ ค
12ตอบ ค 
13ตอบ ค
14ตอบ ก
15ตอบ ก